แบรนด์นาฬิกาและจิวเวลรี่ระดับหรูจากสวิตเซอร์แลนด์ Chopard (Chopard) เจ้าของนิยาม “ช่างศิลป์แห่งความสุนทรีย์ นับแต่ปี 1860” (The Artisan of Emotions since 1860) พร้อมตอกย้ำค่านิยมของการอนุรักษ์ศาสตร์และศิลป์แบบโบราณ และความล้ำเชิงสร้างสรรค์ ด้วยวิธีการนำเสนอแนวใหม่ที่จะสร้างความประทับใจไม่รู้ลืมให้แก่คนรักนาฬิกา
Chopard ร่วมกับบริษัท S.T. Diamond Design ผู้แทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์แบรนด์ Chopard ในประเทศไทย นำนิทรรศการ “Meet our Artisans” ซึ่งรูปแบบและชิ้นงานในนิทรรศการได้รับการคัดสรรอย่างพิเศษโดยแบรนด์ Chopard ในสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อมาจัดในประเทศไทยเป็นที่แรกของโลก ณ บริเวณ Hall of Fame ศูนย์การค้าสยามพารากอน ระหว่างวันที่ 1- 7 พฤศจิกายน ศกนี้ เวลา 11:00น. - 21:00 น. นิทรรศการครั้งนี้เน้นย้ำถึงประณีตศิลป์ของการสร้างสรรค์นาฬิกาและเครื่องประดับแบบไฮ จิวเวลรี่ ที่เป็นจุดเด่นของแบรนด์ รวมทั้งประกาศเกียรติคุณของเหล่าช่างศิลป์ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของ Chopard นั่นเอง
Chopard มีความโดดเด่นในเรื่องการอนุรักษ์รูปแบบดั้งเดิม ความมีจิตใจเป็นศูนย์กลาง ความจริงจังและลึกซึ้งในการทำงาน พร้อมการปรับแนวทางการสร้างสรรค์สู่ความเป็นสมัยใหม่ ทั้งนี้ Chopard ผลิตชิ้นงานด้วยมุมมองของการมองโลกเชิงบวกเสมอ โดยยึดหลักความลงตัวระหว่างประสบการณ์ของเหล่าช่างศิลป์ที่สั่งสมมายาวนานจากรุ่นสู่รุ่นและความกล้าที่จะสร้างสรรค์สิ่งแปลกใหม่ ทำให้เกิดปรากฏการณ์นาฬิกาและเครื่องประดับที่ล้ำเลิศโดดเด่นกว่าใคร
ภายในงาน Chopard นำ 5 ช่างศิลป์ในแขนงต่างๆ ของการผลิตนาฬิกา ที่บินตรงจากห้องปฏิบัติการที่กรุงเจนีวา มาสาธิตวิธีการสร้างสรรค์ผลงานให้ประชาชนทั่วไปได้ชื่นชม โดยผู้เข้าชมนิทรรศการจะได้รับประสบการณ์เสมือนร่วมเดินทางไปกับช่างศิลป์เหล่านี้ เพื่อรับรู้ถึงชีวิตการทำงานในแต่ละวันในห้องปฏิบัติการของ Chopard พร้อมสัมผัสถึงความรักและความหลงใหลที่พวกเขามีต่องานศิลป์ และอารมณ์สุนทรีย์ตลอดทุกขั้นตอนการสร้างสรรค์งาน และพลาดไม่ได้สำหรับงานนี้ คือ Chopard ยังนำเสนอชิ้นงานสร้างสรรค์ ทั้งนาฬิกาและเครื่องประดับไฮ จิวเวลรี่ ที่นำเข้ามาแสดงที่ประเทศไทยโดยเฉพาะ สำหรับช่างศิลป์ทั้ง 5 แขนงที่จะพบได้ในงานนี้ประกอบด้วย
เพราะเหตุใดจึงต้องมีการตกแต่งสิ่งที่ซ่อนเร้นไม่ปรากฏต่อสายตา การทำเช่นนี้มีกฏเกณฑ์และขอบเขตเพียงไร ใครหนอ ช่างคิดที่จะเสริมเติมแต่งแม้กระทั่งตะปูควงอันเล็กจิ๋วเหล่านี้ คือสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นรายวันในเวิร์กช็อปของโรงงานChopard ไม่ว่าจะเป็น การตกแต่งด้วยลวดลายเส้นขนานที่เรียกว่า โคตส์ เดอ เจแนฟ (Côtes de Genève) การเล่นระดับ (bevelling) การสลักลายวงกลม (Circular graining) การสลักลายแบบซาติน (Satin brushing) การสลักลายแสงอาทิตย์ (Sunray patterning) และการสลักลายดอกไม้ (Fleurisanne engraving) ซึ่งล้วนแต่เป็นทักษะที่เสริมส่งคุณค่ากลไลการเคลื่อนไหวของนาฬิกา รวมถึงความคิดอันปราชญ์เปรี่องเบื้องหลังทุกกระบวนการของประติมากรรมนั้น ๆ
คาร์โลส (Carlos) คือศิลปินเอกในด้านการฝังอัญมณีแห่งแบรนด์Chopard เขาเปรียบประดุจผู้วิเศษ ที่สามารถผสานหินมีค่าเข้ากับโลหะทอง แพลทินัม หรือไทเทเนี่ยมอย่างน่าอัศจรรย์ไม่มีใครเทียบ
โลหะมีค่าต่าง ๆ เหล่านี้ มีหน้าที่รองรับอัญมณีสุกใส เป็นตัวชู เสริมส่ง และเพิ่มพูนมูลค่าให้แก่เพชรพลอยอย่างแยกกันไม่ได้ ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองสิ่งนี้ แนบแน่นยิ่งนัก และประสานกันผ่านกล้องส่องภายใน
ความเงียบสงัดของเวิร์กช็อป ณ นครเจนีวา โดยแต่ละวันจะมีกระบวนการที่ทำต่อเนื่องกันมา ซ้ำแล้วซ้ำเล่า เหมือน แต่ก็ไม่เหมือนเสียทีเดียว เพราะทุกครั้งมีความแปลกใหม่ด้วยอัญมณีแต่ละเม็ดนั้น มีเอกลักษณ์
โดดเด่นของตนเองที่ไม่ซ้ำแบบใคร
ที่เวิร์กช็อปของChopard (Chopard) ในนครเจนีวา ชิ้นส่วนกว่า 533 ชิ้นถูกประกอบรวมกันเป็นนาฬิกา L.U.C ฟูล สไตร์ค (L.U.C Full Strike) ซึ่งมีผู้ผลิตนาฬิกาเพียงสามรายเท่านั้นที่สามารถสร้างสรรค์นาฬิกาประเภทนี้ได้
และหนึ่งในนั้นก็คือ คริสโตเฟอร์ หรือ คริสตอฟ (Christoph) เรือนเวลาประเภทนี้มีเข็มนาฬิกาที่ส่งเสียงกังวานด้วยคริสตัลเพื่อบอกเวลา
ทั้งควอเตอร์ของชั่วโมงและบอกนาที มาสัมผัสกับงานเบื้องหลังของความพิเศษนี้กันว่าเป็นอย่างไรบ้าง
เทคโนโลยีการสร้างภาพสามมิติในคอมพิวเตอร์สามารถช่วยอุตสาหกรรมเครื่องประดับได้มาก ช่วยให้ประหยัดเวลาการทำงาน แต่ถึงกระนั้น แม้จะแม่นยำสักเพียงใดก็ตาม
คอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถใส่จิตวิญญาณเข้าไปในต้นแบบเครื่องประดับได้เลย มีเพียงมือมนุษย์เท่านั้นที่สามารถสื่ออารมณ์และจิตวิญญาณเข้าไปในแบบได้
โดยอาศัยฝีมือที่ได้รับการฝึกฝนมาเป็นเวลานาน และอารมณ์ความอ่อนไหวของช่างศิลป์นั้น ๆ ซึ่งหนึ่งในบุคคลเหล่านี้ คือ แอนโทนี
สำหรับแบรนด์เครื่องประดับ Chopard แล้ว เครื่องประดับอัญมณีแต่ละชิ้นนั้น ถือเป็นความสำเร็จที่น่าภาคภูมิใจยิ่ง เพราะก่อเกิดจากห้วงอารมณ์ การหยั่งรู้ และแรงปรารถนา ที่ผสมผสานกันทีละเล็กทีละน้อย ทีละขั้นตอน โดยที่คนหัวศิลป์ทั้งชายหญิงอย่าง ฌอง-โคลด (Jean-Claude) จะแปลงมโนคติเล็กๆ นั้น ให้กลายเป็นเครื่องประดับอัญมณีอันมีค่าและความงดงามเลอเลิศ เครื่องประดับแต่ละชิ้น ช่างต้องอาศัยความรู้ศาสตร์ศิลป์แขนงต่าง ๆ มากมายอย่างไม่น่าเชื่อ ราวกับเพลงคลาสสิกที่บรรเลงโดยวงซิมโฟนี ที่นักดนตรีทุกคนบรรเลงเพลงเดียวกัน แต่ใช้เครื่องดนตรีต่างกันไป และเครื่องดนตรีชิ้นแรกนั้น คือดินสอนั่นเอง
มีเพียงไม่กี่แบรนด์ในโลกนี้ที่สามารถกล่าวได้ว่าเป็นผู้ผลิตนาฬิกาและจิวเวลรี่ครอบคลุมทุกขั้นตอน และ Chopard ก็เป็นหนึ่งในไม่กี่แบรนด์นั้น ด้วยความเชี่ยวชาญของช่างฝีมือของ Chopard ผู้มีความสามารถในแต่ละด้าน ทำให้เวิร์กช็อปของ Chopard เต็มไปด้วยช่างฝีมือ ผู้เปี่ยมไปด้วยพรสวรรค์ สร้างสรรค์นาฬิกาที่มีกลไกแสนซับซ้อนและอัญมณีสุดวิจิตร บนเส้นทางแห่งการก้าวข้ามคำว่าเป็นไปไม่ได้ เพื่อสร้างสรรค์นาฬิกาที่สมบูรณ์แบบที่สุดและจิวเวลรี่ชั้นสูง (Haute Joaillerie) นั้น ทุกอย่างมีขั้นตอนและกระบวนการในการผลิต และนี่คือความมุ่งมั่นของ 2 ประธานร่วมของ Chopard นั่นคือ แคโรไลน์ (Caroline) และคาร์ล-ฟรีดริช ชอยเฟเล่ (Karl-Friedrich Scheufele) ผู้สืบทอดเจตนารมณ์ต่อจากรุ่นพ่อแม่ในการพัฒนาเวิร์กช็อปของChopardและผสมผสานความเชี่ยวชาญในหลาย ๆ ศาสตร์ เพื่อนำไปสู่ความเป็นเลิศ ไม่ว่าจะเป็น ด้านการขึ้นรูปทองหรือการประดับอัญมณี การตกแต่งกลไกนาฬิกาหรือการแกะสลักตัวเรือน รวมถึงดูแลการผลิตกลไกซับซ้อนสูงอีกด้วย
นับว่าเป็นโอกาสดีที่ได้ไปเยือนเวิร์กช็อปผลิตจิวเวลรี่ของ Chopard และได้เห็นขั้นตอนต่าง ๆ ในการสร้างสรรค์จิวเวลรี่แสนตระการตา ซึ่งจิวเวลรี่เหล่านี้ได้ไปอวดโฉมปรากฏอยู่บนพรมแดงหรือเทศกาลหนังเมืองคานส์ในอีกไม่กี่เดือนหลังจากนั้น เนื่องจากChopard เป็นผู้สนับสนุนอย่างเป็นทางการของงาน การสร้างสรรค์ชิ้นงานทุกชิ้นเริ่มต้นด้วยภาพสเก็ตช์ หรือที่เรียกว่า “กวาช” (Gouache) จากนั้นจึงขึ้นแบบ 3 มิติและปั้นเป็นรูป ก่อนที่จะลงมือบนจิวเวลรี่จริงและตกแต่งด้วยอัญมณี ในขั้นตอนการตกแต่งด้วยอัญมณีนั้นต้องมีการเลือกอัญมณีไว้ก่อนล่วงหน้า ซึ่งเป็นความถนัดของแคโรไลน์ ชอยเฟเล่ ผู้หลงใหลในโลกแห่งอัญมณีมาตั้งแต่เด็ก เธอมักเสาะหาอัญมณีที่สวยที่สุด หายากที่สุด มีความลึกลับน่าค้นหาที่สุด และน่าหวงแหนที่สุด ที่จะมาสร้างแรงบันดาลใจให้แก่เธอ จากการที่เธอทำงานที่เวิร์กช็อปจิวเวลรี่ ประกอบกับประสบการณ์การค้นคว้าหลายปี ทำให้เธอค้นพบวิธีประดับอัญมณีเทคนิคใหม่ซึ่งแบรนด์อื่นไม่สามารถทำได้เรียกว่า เมจิคอล เซ็ตติ้ง (Magical Setting) หรือการวางอัญมณีแบบมองไม่เห็น ทำให้ดูราวกับว่าอัญมณีลอยอยู่บนอากาศ ช่างทำนาฬิกาเหล่านั้นใช้ความสามารถในการผลิตนาฬิกาที่เวิร์กช็อปพิเศษ ทุกท่านล้วนมีความสามารถและความเชี่ยวชาญเหนือระดับหาใครเทียบได้ ที่นี่ยังเป็นจุดกำเนิดแห่ง L.U.C. ฟูล สไตรค์ มินิท รีพีเตอร์ (L.U.C Full Strike minute repeater) อันเลื่องชื่อผลิตจากคริสตัล นอกจากนี้ ยังเป็นสถานที่ประกอบชิ้นส่วนตูร์บิย็องของแบรนด์ Chopard และกลไกอันซับซ้อนอื่น ๆ อีกมากมาย
โรงผลิต Chopardตั้งอยู่ที่เฟลอริเยร์ (Fleurier) เมืองวาลเดอทราแวร์ส (Val-de-Travers) ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1996 หรือมากกว่า 20 ปีมาแล้ว เป็นสัญลักษณ์แห่งความฝันของคาร์ล-ฟรีดริช ชอยเฟเล่ ที่กลายเป็นความจริง เขาต้องการจะนำรากฐานแห่งการผลิตนาฬิกาแบบดั้งเดิมของผู้ก่อตั้งแบรนด์ หลุยส์-ยูลิส Chopard (Louis-Ulysse Chopard) กลับมาอีกครั้ง ซึ่งประวัติศาสตร์ของแบรนด์เกิดขึ้นที่เฟลอริเยร์ในหุบเขานอยชาเทล ณ สถานที่แห่งนี้ ช่างฝีมือใช้ความสามารถของตนเพื่อสร้างสรรค์นาฬิกาตามวิธีดั้งเดิม ด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย เวิร์กช็อปแห่งนี้เปิดกว้างสู่ทิวทัศน์ภูเขารอบ ๆ และเป็นที่ทำงานของผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตนาฬิกาในหลาย ๆ ศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็น การประทับตรา การตกแต่ง การประกอบ การผลิตกลไกซับซ้อนสูง โดยคาร์ล-ฟรีดริช ชอยเฟเล่ เชิญผู้เชี่ยวชาญการสลักด้วยเทคนิคแบบเฟลอริเยร์ มาแกะสลักกลไกของแบรนด์เป็นลวดลายดอกไม้และการตกแต่งต่าง ๆ ส่วนการแกะสลักตัวเรือนนั้นทำในเจนีวา
นอกจากนี้ ที่เฟลอริเยร์ยังเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์แห่งประวัติศาสตร์นาฬิกา L.U.CEUM ตัวอาคารออกแบบให้เหมือนหัวเรือคว่ำราวกับเป็นเรือพาหนะที่จะพาข้ามห้วงเวลา และนี่คือจิตวิญญาณแห่งแบรนด์ ในแง่ของห้วงเวลาที่ผ่านพ้นไปและเวลาที่บอกด้วยนาฬิกา รวมถึงเวลาที่ใช้ในการสร้างสรรค์เรือนนาฬิกาและจิวเวลรี่ รวมทั้งระยะเวลากว่าChopardจะมาเป็นแบรนด์ที่เป็นที่รู้จักในฐานะผู้ผลิตนาฬิกาและจิวเวลรี่ระดับโลก ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต