RIGHT HEUER RIGHT NOW

Last updated: 12 ก.ย. 2559  |  3844 จำนวนผู้เข้าชม  | 

RIGHT HEUER RIGHT NOW

โดย : David Chalmers


RIGHT HEUER RIGHT NOW


        Carrera และ Monaco วินเทจอาจเป็นรุ่นที่มีชื่อเสียงและดึงดูดคนส่วนใหญ่ แต่สำหรับบรรดาแฟนตัวจริงที่คลั่งไคล้นาฬิกาโครโนกราฟสำหรับรถแข่งของ Heuer นั้น Autavia คือที่สุดของพวกเขา                                                


Jo Siffert นักแข่งในตำนานแห่ง Formula 1 สวมใส่ Heuer Autavia รุ่นที่ 3


        มีคำถามหนึ่งที่แบ่งกลุ่มคนรักดนตรีออกเป็นสองฝ่ายที่แตกต่างแต่มีความเกี่ยวข้องกันคือ “Lennon หรือ McCartney” ท่วงทำนองที่ดึงดูดของ Paul หรือบทเพลงที่มีเนื้อหาทางการเมืองและความเป็นบลูส์ของ John เมื่อนักดนตรี 550 คนถูกถามคำถามนี้ในแบบสอบถาม ผลลัพธ์ที่ได้ทำให้เราประหลาดใจเป็นอย่างมาก เพราะไม่ใช่ว่า Paul จะโดดเด่นกว่า John หรือ John เหนือกว่า Paul แต่คำตอบที่แท้จริงคือ Harrison มันจึงเป็นข้อขัดแย้งมายาวนาน ในโลกของ Heuer วินเทจก็เช่นกัน เพราะมักจะมีคำถามที่คล้ายกันกับคำถามข้างต้นอยู่คือ “Carrera หรือ Monaco”

        ตำนานของโครโนกราฟทั้งสองถูกเขียนขึ้นมากมาย เพราะทั้งคู่ฟื้นตัวในช่วงปลายทศวรรษ1990 จิตวิญญาณของการออกแบบที่โดดเด่นของทั้งสองรุ่นทิ้งเงาที่ทอดยาวมาจากอดีต ครอบคลุมปัจจุบัน และขยายออกไปยังอนาคต นอกจากนี้ทั้ง 2 รุ่นยังเป็นคอลเลคชั่นหลักของ TAG Heuer ในปัจจุบันเช่นเดียวกันกับเมื่อ 45 ปีที่ผ่านมา Carrera ที่เปิดตัวในปี 1963 มีขนาดเล็กกว่าและคลาสสิกมากกว่า ด้วยหน้าปัดทรงกลมเมื่อเปรียบเทียบกับหน้าปัดสีฟ้าสดใสทรงสี่เหลี่ยมจตุรัสของ Monaco

        เมื่อโพสคำถาม Carrera หรือ Monaco คำตอบที่ได้จากนักสะสม Heuer ส่วนใหญ่คือ Autavia เพราะในขณะที่ Carrera และ Monaco ต่างก็ถูกตีความหมายไปในทางเดียวกันกับการแข่งรถในปัจจุบัน นั่นก็เป็นสิ่งที่ Autavia เคยเป็น จากข้อมูลที่เกิดขึ้นจริงทางประวัติศาสตร์ทำให้เราทราบว่า Autavia คือนาฬิกาเรือนแรกที่ถูกใช้เป็นเครื่องจับเวลาในการแข่งรถ ดังนั้น Autavia คือรุ่นที่มาก่อน และ Autavia ก็เป็นรุ่นที่อยู่มานานกว่ารุ่นที่มีชื่อเสียงรุ่นอื่น เพราะมันยังคงอยู่ในแค็ตตาล็อก จนกระทั่งช่วงปลายของ Heuer ในปี 1985 Autavia คือหัวใจและจิตวิญญาณของ Heuer มานานกว่า 30 ปี แม้ว่าคนส่วนใหญ่เกือบจะลืมมันไปแล้ว แต่ไม่ใช่สำหรับผู้ที่อุทิศตนและมีความภักดีต่อ Heuer

        แม้จะยังไม่ชัดเจนแต่ Autavia เป็นนาฬิกาที่มีเรื่องราวที่น่าสนใจ โดยมีจุดเริ่มต้นจากการเป็นนาฬิกาหยุดเวลาแทนที่จะเป็นนาฬิกาข้อมือ ชื่อรุ่นเป็นคำผสมของคำว่า “AUTo และ AVIAtion” ตามตลาดที่ตั้งใจไว้ว่าจะผลิตมัน เพื่อให้เป็นเครื่องจับเวลาที่ติดตั้งอยู่บนแผงหน้าปัดของเครื่องบินและรถยนต์ ในอัตชีวประวัติของ Jack Heuer เขาได้เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับการแข่งขันของเขาที่ครั้งหนึ่งที่เขาได้อ่านค่ามาตรจับเวลา Autavia บนแผงหน้าปัดรถของเขาผิดไป 1 นาที และนั่นทำให้เขาเข้าเส้นชัยเป็นลำดับที่ 3 แทนที่จะเป็นคนแรก

        “ความผิดพลาดนี้ทำให้ผมโกรธ และผมตระหนักว่าหน้าปัดของนาฬิกาหยุดเวลา Autavia ไม่มีความชัดเจน สับสน และยากที่จะอ่านค่าความเร็วของรถได้อย่างถูกต้อง”

        สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาคือการออกแบบใหม่ เครื่องจับเวลา 2 ตัวใหม่ที่ถูกพัฒนาขึ้นคือ “Autorallye” และ “Monte Carlo” และสั่งให้เลิกผลิต Autavia ทันที แต่สำหรับ Jack Heuer ผู้ชื่นชอบการตั้งชื่อ เขาชอบชื่อ Carrera เพราะการออกเสียงของมัน และเขารักชื่อ Autavia เขาจึงตัดสินใจที่จะนำชื่อ Autavia มาใช้กับคอลเลคชั่นนาฬิกาโครโนกราฟใหม่ของเขา

นาฬิกาหยุดเวลาแดชบอร์ด Autavia รุ่นดั้งเดิม เปิดตัวในปี 1933

       Jack Heuer ได้เข้ามาดูแลธุรกิจครอบครัวในปี 1961 เพื่อหลีกเลี่ยงการขาย Heuer S.A. ให้กับBulova หนึ่งในภารกิจแรกของเขาคือการฟื้นฟูกลุ่มนาฬิกาโครโนกราฟของบริษัท และเขาเริ่มต้นด้วยการออกแบบที่เรียบง่าย หลังจากใช้เวลาในการพัฒนาอยู่ 12 เดือน จึงได้มีการเปิดตัว Autavia Chronograph นาฬิกาโครโนกราฟของ Heuer เรือนแรกที่สามารถปรับหมุนขอบตัวเรือนได้ และประสบความสำเร็จทางด้านยอดขายในทันที่ที่เปิดตัว

        Autavia รุ่นแรกน่าจะเป็นรุ่นที่มีการออกแบบได้งดงามที่สุด ด้วยตัวเรือนสตีลขนาด 38 มิลลิเมตร คล้ายกับตัวเรือนของ Carrera รุ่นแรกๆ แต่มีความกลมกลึงและนุ่มนวลในการเชื่อมต่อของตัวเรือนมากกว่า โดยรุ่นแรกๆ จะประกอบไปด้วยรีจิสเตอร์ขนาดใหญ่พิเศษและเข็มแสดงเวลาทรงดอฟิน (Dauphine) ขับเคลื่อนโดยกลไกไขลานคู่ Valjoux 92 (2 รีจิสเตอร์) และกลไกในตำนาน Valjoux 72 (3 รีจิสเตอร์)

นาฬิกาจับเวลา Autavia ในฐานร่วมกับ นาฬิกาแดชบอร์ด 8 วัน Hervue

 

        Autavia รุ่นที่สองเปิดตัวตามมาในปี 1968 ในตัวเรือนขนาด 40 มิลลิเมตร โดยออกแบบให้มีตัวเชื่อมสายที่แบนกว่า เหลี่ยมกว่า แต่การเปลี่ยนแปลงหลักเกิดขึ้นในปีถัดมา เมื่อ Heuer เปิดตัวกลไกอัตโนมัติโครโนกราฟที่ผลิตขึ้นภายในโรงงานของตนเอง Calibre 11 ด้วยความมุ่งมั่นที่จะทำให้โลกได้เห็นถึงความสดของนาฬิการุ่นใหม่ที่ขับเคลื่อนโดย Calibre 11 ทำให้ Jack Heuer ออกแบบ Carrera และ Autavia ใหม่ทั้งหมดในปี 1969 และเปิดตัวนาฬิกาโครโนกราฟใหม่ที่สามารถดึงดูดความสนใจของทุกคนได้นั่นคือ Monaco

        Autavia ในรุ่นที่สามมีลุคที่เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง ด้วยตัวเรือนทรงหมอน และตัวเชื่อมสายแบบเหลี่ยมสั้น ในขณะที่ Autavia รุ่นแรกใช้โทนสีขาวดำ แต่สำหรับรุ่นใหม่ได้ถูกออกแบบให้หน้าปัดมีสีสัน โดย Autavia ในรุ่นสามที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือรุ่น 1163T หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ Siffert Autavia ที่โดดเด่นด้วยหน้าปัดสีขาว และมีไฮไลท์เป็นสีฟ้าสดใส

        Joseph “Jo” Siffert เป็นนักแข่งรถ Formula 1 ชาวสวิส ที่ขับให้กับทีม Porsche Sportscar และเป็นหนึ่งในนักแข่งคนแรกๆ ที่ได้รับการสนับสนุนจาก Heuer โดยเขามีรายได้ CHF25,000 จากการวางโลโก้ Heuer บนชุดแข่งของเขา เขาไม่เพียงแค่เร็วอยู่หลังพวงมาลัยเท่านั้น แต่เขายังมีสายตาที่แหลมคมในด้านการค้าด้วย จากที่ Jack Heuer ได้เล่าให้ผมฟังเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา

        “Jo เกิดมาเพื่อเป็นนักแข่งและพ่อค้า” เขามักจะมีคอลเลคชั่นนาฬิกาที่เขาสามารถขายให้กับเพื่อนๆ ทั้งหมดของเขาในสนามแข่งทั้งในราคาส่งและราคาปลีก

        “แน่นอนว่าเราไม่รังเกียจเพราะพวกมันได้ไปอยู่ในที่สาธารณะ หรือจริงๆ แล้วคืออยู่ในสนามแข่ง Formula 1 และถ้าคุณมองไปรอบๆ คุณจะเห็นว่าพวกเขาทุกคนสวมใส่ Heuer Chronograph ที่ซื้อจาก Jo เราจัดส่งนาฬิกาให้เขา และเขาก็จ่ายสำหรับมัน แต่เขาได้พวกมันไปในราคาส่ง เรานับสนุน    
กิจกรรมการซื้อขายนี้มาก เพราะเขาส่งพวกมันไปอยู่บนข้อมือของกลุ่มคนที่คู่ควรในโลกของเขา”

        ผลงานสำคัญอื่นๆ ของ Jo Siffert ที่เป็นตำนานของ Heuer คือการที่เขาทำให้ Steve McQueen สวมใส่ Heuer Monaco โดย Siffert เป็นที่ปรึกษาของ McQueen ในช่วงที่มีการถ่ายทำภาพยนตร์ Le Mans ในปี 1971 และ McQueen ต้องการที่จะเป็นตัวจริงเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยการเลือกใส่ชุดแข่งที่มีลายและตราสัญลักษณ์ ‘Heuer Chronograph’ เช่นเดียวกับ Siffert นอกจากนี้ McQueen ยังตาม Jo ในเรื่องการสวมใส่ ‘Heuer Chronograph’ ด้วย แต่แทนที่เขาจะใส่ Autavia เช่นเดียวกับ Siffert เขากลับเลือก Monaco มันจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรจะมีใครสับสนเพราะนักแข่งตัวจริงสวมใส่ Autavia แต่นักแสดงใส่ Monaco

        Autavia รุ่นที่สามอยู่ในช่วงทศวรรษ 1970 จนถึงกลางทศวรรษ 1980 โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงหลักๆ นอกจากการเปลี่ยนสีหน้าปัดใหม่ และมีการเปลี่ยนแปลงตัวเรือนเล็กน้อย (ในรุ่น 11630 และ 11063) เป็นนาฬิกาที่มีกลไกหลากหลายให้เลือก หรือในที่สุดคุณอาจได้เป็นเจ้าของ Autavia ที่ใช้กลไกของ Heuer เอง และเมื่อแบรนด์ Heuer ได้ตายลงในปี 1985 Autavia ก็ยังคงตามมาอยู่ในแผนการเปลี่ยนแปลงบริษัทและคอลเลคชั่นของ TAG Heuer

        คุณคงคาดหวังว่าเมื่อ TAG Heuer เริ่มทบทวนอดีตของแบรนด์ ด้วยการผลิตนาฬิกาซีรี่ส์เก่าๆ อีกครั้ง มันอาจจะเริ่มที่ Autavia แต่พวกเขาเลือก Carrera และ Monaco ให้ใช้ตราสัญลักษณ์ของ Heuer และทำการตลาดทั้งสองรุ่นในฐานะที่เป็นผู้สืบทอดมรดกของแบรนด์ การกลับมาของ Autavia ยังคงต้องรอต่อไป จนกระทั่งอีกหนึ่งตำนานของแบรนด์ได้กลับมาซึ่งก็คือ Jack Heuer

        TAG Heuer ถูก LVMH เข้าซื้อกิจการในปี 1999 และแต่งตั้งให้ Jean-Christophe Babin เป็นผู้บริหารสูงสุดของแบรนด์ Babin ซึ่งตระหนักได้ว่าเขายังขาดประสบการณ์ในตลาดนาฬิกา จึงได้วางแผนที่จะดึงตัว Jack Heuer กลับมายังบริษัท ที่เขาทิ้งไปในช่วงที่มีการแข่งขันทางแฟชั่นอย่างรุนแรงในปี 1982 แต่ Jack ต้องการที่จะเป็นมากกว่าเพียงแค่หุ่นเชิด ทันที่ที่เสร็จสิ้นจากการประชุมครั้งแรกของเขากับ Babin ในปี 2001 ได้มีจดหมายที่เต็มไปด้วยความคิดสำหรับนาฬิกาใหม่ๆ ตามมาอย่างรวดเร็ว และสิ่งที่อยู่บนสุดในลิสคือการฟื้นฟู Autavia เช่นเดียวกับที่เขาทำในปี 1961 Jack Heuer รับบทบาทสำคัญในการพัฒนาและออกแบบ Autavia รุ่นที่สี่

        Autavia ใหม่ในขนาด 43 มิลลิเมตร เปิดตัวในปี 2003 และมีรายละเอียดของการกลับมาที่แตกต่างไปจาก Monaco และ Carrera โดยมันใช้ตราสัญลักษณ์ TAG Heuer แทน Heuer และมีการตีความตัวเรือนของ Autavia ยุค 70 ให้มีความทันสมัยมากขึ้นแทนที่จะผลิตตามรูปแบบเดิมในอดีต TAG Heuer ยังพา Autavia ไปไกลด้วยการใช้กลไก Calibre 11 รุ่นใหม่ ซึ่งขยับเม็ดมะยมไปอยู่ทางด้านซ้ายของตัวเรือนเช่นเดียวกับรูปแบบของรุ่นที่สามในปี 1969


 

THE FAB FOUR

นาฬิกา Autavia ที่ถูกเลือกว่าเป็นรุ่นที่ดีที่สุดของแต่ละเจนเนอเรชั่น


 

First Generation : Autavia 2446

Autavia รุ่นคลาสสิกที่มีสกรูว์ด้านหลังตัวเรือน โดดเด่นในหน้าปัดแบบ “Panda” คือมีรีจิสเตอร์สีขาว 3 วง วางอยู่บนหน้าปัดสีดำ ขับเคลื่อนโดยกลไกในตำนาน Calibre Valjoux 72 เป็นที่นิยมที่สุดในกลุ่มนักสะสมนาฬิกาวินเทจของ Heuer ด้วยความที่เป็นรุ่นที่เก่ากว่า ดีกว่า และมีคุณค่ามากกว่า





 

Second Generation : Autavia 2446C

รุ่นที่สองมีตัวเรือนอัดแน่นเป็นสี่เหลี่ยมบดบังบางส่วนของความโค้งมนที่มีในรุ่นก่อน รวมถึงเพิ่มสีแดงเข้าไปบนหน้าปัด และที่เข็มจับเวลาโครโนกราฟกลางหน้าปัด เป็น Autavia รุ่นสุดท้ายที่ขับเคลื่อนด้วยกลไกไขลานด้วยมือ Valjoux 72





 

Third Generation : Autavia 11063 GMT

นาฬิกา GMT Autavia เป็นรุ่นที่มีความสำคัญจากสมัยก่อน ด้วยขอบตัวเรือนสีแดงและน้ำเงินที่โดดเด่นและมีความเป็นสปอร์ต นักสะสมหลายคนรู้ว่าการที่ขอบตัวเรือนนี้สวมใส่ง่ายเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย เพราะนั่นหมายความว่าจะมีนาฬิการุ่นนี้เพียงไม่กี่เรือนที่อยู่ในสภาพสมบูรณ์ในปัจจุบัน โดยเรือนนี้มาจากยุคต้นทศวรรษ 1980 และเป็นนาฬิกา GMT Autavia เรือนสุดท้ายที่ขับเคลื่อนด้วยกลไก Calibre 14 ของ Heuer









 

Fourth Generation : Autavia CY2110

ทั้งที่นาฬิการุ่นนี้ไม่ได้สะท้อนถึงนักสะสม แต่หน้าปัดสีขาวของ TAG Heuer Autavia ก็เป็นที่นิยมมาเป็นเวลาหนึ่งทศวรรษนับจากวันที่เปิดตัวเป็นครั้งแรก การผสมผสานความคลาสสิกของสี “Siffert” และความทันสมัยของกลไก Calibre 11 ที่พัฒนามาจาก ETA ทำให้คุณมีโอกาสได้ครอบครอง Autavia ที่มีรูปลักษณ์แบบวินเทจ และมีความน่าเชื่อถือตามแบบ TAG Heuer สมัยใหม่











        ทั้งที่การกลับมาครั้งนี้น่าจะมีทุกสิ่งทุกอย่างที่คนต้องการ แต่ TAG Heuer Autavia ยอดขายกลับไม่เป็นที่น่าพอใจ ในขณะที่นักสะสมต่างก็ลิสรายชื่อรุ่นของ Carrera และ Monaco ที่ถูกผลิตขึ้นใหม่ แต่นั่นกลับเป็นเรื่องยากสำหรับ Autavia พวกเขาต่างกล่าวว่า “มันไม่สามารถเติมเต็มได้เช่นเดียวกับรุ่นเก่า” บางทีมันอาจจะประสบความสำเร็จมากกว่านี้ถ้ามันดูเหมือนรุ่นเก่าทุกประการ แต่นั่นไม่ใช่ทางของ Jack Heuer เพราะ Autavia ของเขาคือการตีความรูปลักษณ์คลาสสิกและการออกแบบ Autavia วินเทจให้มีความทันสมัย เขาไม่ได้ต้องการลอกแบบรุ่นที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเขา ต่อมา Autavia ได้หายไปอีกครั้งในปี 2005 แม้กระทั่งข่าวการประชาสัมพันธ์ในวาระครบรอบ 50 ปีของ Autavia ในปี 2012 ยังล้มเหลว เหลือทิ้งไว้เพียงแค่รุ่นที่ผลิตขึ้นเพื่อระลึกถึงอยู่อย่างเดียวดาย

        เรื่องราวของ Autavia ยังไม่ได้จบลงในปี 2005 เพราะในช่วง 5 ปีที่ผ่านมานักสะสมได้เริ่มปลุก TAG Heuer Autavia รุ่นปี 2003 ขึ้นมาอีกครั้ง และทำให้มันมีราคาสูงกว่าเหล่า Carrera และ Monaco ที่นำกลับมาผลิตใหม่ครั้งแรก ยังคงมีแรงดึงดูดที่ยั่งยืนนอกเหนือไปจากภาพของเรโทรหรือแนวโน้มที่ทำให้คนกลับมาหา Autavia


            Jack Heuer และ Jo Siffert

 

        และแม้ว่าในปี 2015 เราจะไม่มีนาฬิกาที่เรียกว่า Autavia อยู่ในคอลเลคชั่นของ TAG Heuer แต่ถ้าคุณมองให้ใกล้พอ คุณจะเห็นว่านาฬิกาในคอลเลคชั่น 2015 TAG Heuer Formula 1 มีการออกแบบตัวเรือนเช่นเดียวกับ Autavia 2003 ดังนั้นเราจึงกล่าวได้ว่า Autavia กลับมาอีกครั้ง แม้จะเป็นการกลับมาแบบหลบซ่อนก็ตาม

        น้ำหนักของเม็ดเงินทางการตลาดในปัจจุบันยังคงสนับสนุนมรดกของ Carrera และ Monaco และแน่นอนว่าพวกมันมีประวัติศาสตร์และเรื่องราวที่จะบอกเล่าได้อย่างภาคภูมิใจ แต่คุณจะไม่สามารถบอกเล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของ TAG Heuer ได้หากไม่มี Autavia เป็นศูนย์กลาง เพราะนั่นคือที่ที่ Jack Heuer และผมเชื่อว่ามันถูกกำหนดให้เป็นที่ของ Autavia







       Heuer Autavia รุ่นแรก

"มีแรงดึงดูดที่ยั่งยืน นอกเหนือไปจากภาพของเรโทร หรือแนวโน้มที่ทำให้คนกลับมาหา Autavia"

         คุณคงคาดหวังว่าเมื่อ TAG Heuer เริ่มทบทวนอดีตของแบรนด์ ด้วยการผลิตนาฬิกาซีรี่ส์เก่าๆ อีกครั้ง มันอาจจะเริ่มที่ Autavia แต่พวกเขาเลือก Carrera และ Monaco ให้ใช้ตราสัญลักษณ์ของ Heuer และทำการตลาดทั้งสองรุ่นในฐานะที่เป็นผู้สืบทอดมรดกของแบรนด์ การกลับมาของ Autavia ยังคงต้องรอต่อไป จนกระทั่งอีกหนึ่งตำนานของแบรนด์ได้กลับมาซึ่งก็คือ Jack Heuer

        TAG Heuer ถูก LVMH เข้าซื้อกิจการในปี 1999 และแต่งตั้งให้ Jean-Christophe Babin เป็นผู้บริหารสูงสุดของแบรนด์ Babin ซึ่งตระหนักได้ว่าเขายังขาดประสบการณ์ในตลาดนาฬิกา จึงได้วางแผนที่จะดึงตัว Jack Heuer กลับมายังบริษัท ที่เขาทิ้งไปในช่วงที่มีการแข่งขันทางแฟชั่นอย่างรุนแรงในปี 1982 แต่ Jack ต้องการที่จะเป็นมากกว่าเพียงแค่หุ่นเชิด ทันที่ที่เสร็จสิ้นจากการประชุมครั้งแรกของเขากับ Babin ในปี 2001 ได้มีจดหมายที่เต็มไปด้วยความคิดสำหรับนาฬิกาใหม่ๆ ตามมาอย่างรวดเร็ว และสิ่งที่อยู่บนสุดในลิสคือการฟื้นฟู Autavia เช่นเดียวกับที่เขาทำในปี 1961 Jack Heuer รับบทบาทสำคัญในการพัฒนาและออกแบบ Autavia รุ่นที่สี่

        Autavia ใหม่ในขนาด 43 มิลลิเมตร เปิดตัวในปี 2003 และมีรายละเอียดของการกลับมาที่แตกต่างไปจาก Monaco และ Carrera โดยมันใช้ตราสัญลักษณ์ TAG Heuer แทน Heuer และมีการตีความตัวเรือนของ Autavia ยุค 70 ให้มีความทันสมัยมากขึ้นแทนที่จะผลิตตามรูปแบบเดิมในอดีต TAG Heuer ยังพา Autavia ไปไกลด้วยการใช้กลไก Calibre 11 รุ่นใหม่ ซึ่งขยับเม็ดมะยมไปอยู่ทางด้านซ้ายของตัวเรือนเช่นเดียวกับรูปแบบของรุ่นที่สามในปี 1969

 

        Autavia ปี 2003



ไม่มีรูป

ซ้าย : TAG Heuer Formula 1 McLaren Edition (£1,200) รุ่นปัจจุบัน


   

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้