Last updated: 23 ก.ย. 2564 | 649 จำนวนผู้เข้าชม |
บลองแปง (Blancpain) ประกาศความร่วมมือกับ โอเชี่ยนอกราฟฟิคแมกกาซีน (Oceanographic Magazine) และโอเชี่ยน โฟโตกราฟี อวอร์ดส์ (Ocean Photography Awards (OPA)) เพื่อการนี้บลองแปงได้ริเริ่มการมอบรางวัลพิเศษขึ้น ได้แก่ ฟีเมล ฟิฟตี้ ฟาธอมส์ อวอร์ด (Female Fifty Fathoms (FFF) Award) เพื่อสนับสนุนให้สุภาพสตรีมีพื้นที่ในการแสดงออกถึงมุมมองของตนเองที่มีต่อมหาสมุทร โดยคณะผู้จัดการประกวดและบลองแปงได้มีการประกาศผลผู้ชนะในงานเลี้ยงที่บูติคของแบรนด์กลางกรุงลอนดอน ในวันที่ 16 กันยายน 2021 อีกทั้งมีการแสดงภาพถ่ายไปจนถึ งวันที่ 20 ตุลาคม ณ 11 บอนด์ สตรีท อีกทั้งวันที่ 18 กันยายน ยังมีการจัดแกลเลอรีกลางแจ้งริมแม่น้ำเทมส์บริเวณเดอะควีนส์ วอลก์เพื่อแสดงผลงานภาพถ่ายที่ได้รับรางวัล โดยมีเป้าหมายให้สาธารณชนได้ ตระหนักถึงความสวยงามของโลกใต้ท้องทะเล
ความร่วมมือระหว่างบลองแปงกับการประกวดของ OPA นั้นถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Blancpain Ocean Commitment ซึ่งเป็นการรวบรวมกิจกรรมต่าง ๆ ของแบรนด์ที่ทำเพื่อมหาสมุทร บลองแปงได้มีส่วนร่วมในการริเริ่มโครงการอันหลากหลายทั้งเพื่อการสำรวจ และเพื่อปกป้องมหาสมุทร ซึ่งก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมมากมาย อาทิ การเพิ่มพื้นที่คุ้มครองทางทะเลทั่วโลกกว่าสี่ล้านตารางกิโลเมตร โดยบลองแปงเชื่อว่า ผลลัพธ์ดังกล่าวนั้นไม่สามารถที่ จะบรรลุได้หากปราศจากความร่วมมือจากทุก ๆ ฝ่าย ดังนั้นการเพิ่มความตระหนักรู้ เพื่อให้เห็นถึงความงดงามและความเสี่ยงที่ท้องทะเลต้องเผชิญจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง นั่นทำให้การนำเสนอภาพถ่ายใต้ท้องมหาสมุทรกลายเป็นอีกหนึ่งวิธีการที่นำไปสู่การบรรลุเป้าหมายดังกล่าว โอเชี่ยน โฟโตกราฟี อวอร์ดส์ มีภารกิจในการเปิดเผยให้เห็นถึ งความสวยงาม และภัยคุกคามที่เกิดขึ้นกับมหาสมุทร จึงถือเป็นพันธมิตรในอุดมคติที่สำคัญยังแสดงให้เห็นถึงความต่อเนื่องของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายภาพและงานศิลปะที่บลองแปงได้ริเริ่มขึ้นมาก่อนหน้านี้ หนึ่งในตัวอย่างสำคัญได้แก่ หนังสือรายปี Edition Fifty Fathoms ที่ออกในช่วงปี 2008-2020 โดยมีเป้าหมายในการนำเสนอมุมมองอันหลากหลายของโลกใต้สมุทรที่ถูกถ่ายทอดผ่านเลนส์กล้อง อีกทั้งเป็นเวทีให้นักถ่ายภาพใต้น้ำใช้สื่อสาร และแสดงผลงาน
สำหรับ OPA ประจำปี 2021 นั้นได้รับความสนใจจากกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องกับท้องทะเลเป็นจำนวนมาก โดยมีผลงานกว่า 3,000 ชิ้นถูกส่งเข้ามาร่วมการประกวด ทั้งนี้การพิจารณาผลการประกวดของหกสาขาดั้งเดิม อีกทั้งรางวัลภาพรวมของนักถ่ายภาพทางทะเลยอดเยี่ยมประจำปี (Ocean Photographer of the YearTM) 2021 นั้นได้ถูกตัดสินโดยคณะกรรมการที่ประกอบไปด้วยสมาชิกจากกลุ่ม ซีเลกาซี่ (SeaLegacy) ซึ่งเป็นสมาคมอนุรักษ์มหาสมุทรที่คอยให้การสนับสนุนกิจกรรมของ OPA รวมไปถึงนักถ่ายภาพและนักถ่ายวิดีโอเฉพาะทาง
สำหรับผู้ชนะเลิศรางวัลรวมได้ แก่ เอ็มมี่ แจน (Aimee Jan) ช่างภาพพรสวรรค์สูงชาวออสเตรเลีย ผู้ถ่ายภาพเต่าตนุซึ่งอยู่ท่ ามกลางฝูงปลาแป้นแก้วที่ แสนงดงามและสุดแสนประทับใจ
นอกเหนือไปจากรางวัลเดิมที่มี อยู่ก่อนแล้ว OPA ยังได้เลือกที่จะมอบรางวัลสาขาใหม่ให้แก่นักถ่ายภาพภายใต้ชื่อ “ฟีเมล ฟิฟตี้ ฟาธอมส์ อวอร์ด” (FFF) โดยผู้ที่ได้เข้าชิงรางวัลนี้จะต้องถูกเสนอชื่อจากบุคคลที่รู้สึกประทับใจในผลงาน และจะถูกประเมินอย่างละเอียดโดยคณะกรรมการและบลองแปง ซึ่งมี มาร์ค เอ. ไฮแยค (Marc A. Hayek) ประธานและซีอีโอของแบรนด์ ที่ก็เป็นนักถ่ายภาพใต้ทะเลเนื่องด้วยความหลงใหลที่มีให้กับท้องมหาสมุทรมาอย่างยาวนาน
จากการเสนอชื่อกว่า 100 รายชื่อ มีเพียง 12 รายชื่อที่ถูกคัดเลือกและได้รับเชิญให้ส่งภาพถ่ายทางทะเลจำนวนสิบภาพเพื่อนำเสนอผลงานแบบองค์รวมเข้าประกวด โดยสิ่งนี้ถือเป็นปัจจัยหลักที่ใช้ในการตัดสินศิลปิน แต่ความสำเร็จรวมไปถึงความตั้งมั่นและความสามารถในการมอบแรงบันดาลใจให้แก่ผู้อื่นในการลงมือทำเพื่อมหาสมุทรก็ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ถูกนำมาตัดสินด้วยเช่นเดียวกัน
ผู้ที่คว้ารางวัล FFF ได้แก่ รานี คาโปซโซล่า (Ranee Capozzola) ตากล้อง และครูสอนชีววิทยาชาวอเมริกันที่มีความสนใจด้านการอนุรักษ์ท้องทะเลเป็นพิเศษ เธอเชื่อว่าการถ่ายรูปใต้มหาสมุทรนั้นถือเป็นวิธีการที่ทรงพลังในการถ่ายทอดความมหัศจรรย์ของโลกใต้พื้นน้ำ โดยงานของเธอจะเน้นไปที่ภาพของเต่า และฉลามอยู่บ่อยครั้ง ผลงานภายใต้ชื่อ “ฉลามกับอาทิตย์อัสดง” (“Sharky Sunset”) ถือเป็นผลงานที่ดึงดูดใจทั้งคณะกรรมการและบลองแปง รูปถ่ายดังกล่าวมีทั้งส่วนของผืนฟ้า และส่วนของผืนทะเลที่มี ปลาฉลามครีบดำ (Carcharhinus melanopterus) แหวกว่าย ซึ่งการปรากฎขึ้นของสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์นี้เป็นจำนวนมากถื อเป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกให้เห็ นถึงความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิ เวศทางทะเลบริเวณนั้น
สำหรับรางวัลที่รานี คาโปซโซล่าได้รับคือนาฬิกาบลองแปง ฟิฟตี้ ฟาธอมส์ รุ่นใหม่ล่าสุดเรือนเวลาในเฉดสีน้ำเงินเรือนพิเศษนี้มาพร้อมกับรหัสประจำเรือนหมายเลข 1 พร้อมแกะสลักคำว่า “FFF Award 2021” บนตัวเรือน
ฟิฟตี้ ฟาธอมส์ คือ นาฬิกาดำน้ำรูปแบบร่วมสมัยเรือนแรกของโลกที่บลองแปงเปิดตัวในปี 1953 ถูกคิดค้นขึ้นโดย ฌอง-ฌาคส์ ฟิชแตร์ (Jean-Jacques Fiechter) นักดำน้ำตัวยงและซีอีโอร่วมของบริษัทในช่วงเวลาดังกล่าว ฟิชแตร์ชื่นชมนักดำน้ำหญิงเนื่องจากความสามารถในการอยู่ใต้น้ำที่เหนือกว่านักดำน้ำชาย โดยเขาเข้าใจถึงความจำเป็นในการมีอุปกรณ์จับเวลาที่เชื่อถือได้เพื่อการสำรวจโลกใต้ทะเล
7 ต.ค. 2567
8 ต.ค. 2567
8 ต.ค. 2567
7 ต.ค. 2567