MB&F Horological Machine N°9 ‘Sapphire Vision’

Last updated: 25 ส.ค. 2566  |  315 จำนวนผู้เข้าชม  | 

MB&F Horological Machine N°9 ‘Sapphire Vision’

เปิดตัวครั้งแรกในปี ค.ศ. 2018 Horological Machine N°9 (ออโรโลจิคัล แมชชีน นัมเบอร์ 9) หรือเรียกกันด้วยชื่อเล่นว่า HM9 ‘Flow’ ได้อุทิศเกียรติให้กับงานออกแบบแห่งยนตรกรรมและอากาศยานอันโดดเด่นของยุค 1940s และ ‘50s ด้วยผลลัพธ์ของตัวเรือนที่สะท้อนถึงความปราดเปรียวและลื่นไหลแห่งยุคสมัย บวกกับเส้นสายที่ตรงตามหลักแห่งกลศาสตร์

โครงร่างด้านนอกของ HM9-SV คือกระจกแซฟไฟร์ผสมผสานด้วยโลหะล้ำค่า กับความโค้งและดูคล้ายกับฟองอากาศ ซึ่งติดตั้งอย่างแม่นยำด้วยสามส่วนประกอบ ก่อนจะผนึกด้วยการผสานอย่างได้สัดส่วนของปะเก็นแบบสามมิติผ่านการจดสิทธิบัตร และกระบวนการหลอมองค์ประกอบสุดไฮเทค โดยบาลานซ์สองตัวซึ่งโผล่ขึ้นอย่างอิสระได้นำทางข้อมูลไปสู่เฟืองท้าย ที่เปลี่ยนให้สองจังหวะการทำงานกลายเป็นชีพจรการแสดงเวลาที่สัมพันธ์กันหนึ่งเดียว ขณะที่เกียร์รูปทรงกรวยที่มีความแม่นยำสูงยังเปลี่ยนอย่างทรงประสิทธิภาพจากพลังงานของเครื่องยนต์และกระแสข้อมูลให้ไหลผ่านมุม 90 องศา เพื่อมอบการแสดงเวลาในแนวตั้งไว้บนหน้าปัดกระจกแซฟไฟร์ พร้อมทั้งความโดดเด่นและชัดเจนด้วยสารเรืองแสงซูเปอร์-ลูมิโนวา

ในด้านกลับกัน แกนร่วมที่ติดตั้งอยู่ด้านใต้บาลานซ์แต่ละตัวนั้นคือตัวขับเคลื่อน ที่ประกอบด้วยกังหันคู่ซึ่งหมุนอย่างอิสระในฐานะองค์ประกอบของจุดดึงดูดสายตาอันบริสุทธิ์ที่น่าสนใจ รอให้ใครบางคนได้เริ่มต้นออกสำรวจพรมแดนแห่งจักรกลประเภทใหม่นี้ โดยหลังจากการริเริ่มสร้างสรรค์ผลงานรุ่น HM9 Flow ‘Air’ และ Road’ ผู้พิชิตทั้งบนผืนดินและท้องฟ้ามาแล้วนั้น ทว่า ใน HM9-SV จะพาพวกเราดำดิ่งสู่ความลึกใต้ผืนมหาสมุทร ซึ่งเป็นอาณาจักรท้ายสุดบนโลกที่ยังคงกุมความลับซึ่งยังไม่เคยถูกเปิดเผยไว้อีกมากมาย โดยก่อนหน้านี้ ยังมีเรือสำรวจจากแอตแลนติสที่ขับเคลื่อนโดยเทคโนโลยีอันแตกต่าง ทั้งในรูปลักษณ์ที่คุ้นเคยและแสนแปลกประหลาดมาแล้ว

จากรูปลักษณ์ภายนอก เส้นสายของ HM9-SV ได้ก้าวข้ามต้นแบบของผลงานรุ่นก่อนหน้า ทั้ง Road และ Air ด้วยกฎแห่งพลังของของเหลวที่ยังคงมีบทบาทสำคัญในงานออกแบบของรุ่น แม้ว่าวัตถุประสงค์ของการควบคุมด้วยของเหลวนั้นจะช่วยให้ HM9-SV มีความนุ่มนวลและโค้งมนมากขึ้นภายในมุมแหลมคมต่างๆ รวมถึงความโค้งแบบวงกลมของบรรดาเวอร์ชัน โฟลว ก่อนหน้า จากจุดยืนทางเทคนิคนี้ การทำงานขึ้นใหม่บนมิติต่างๆ จึงจำเป็นต้องนำมาใช้เพื่อรับกับความแตกต่างด้านคุณสมบัติของวัสดุกระจกแซฟไฟร์ ที่แม้ว่าจะมีความแข็งอย่างมาก แต่แซฟไฟร์ก็สามารถแตกหักได้ทันทีภายใต้แรงกดที่ซึ่งโลหะอาจจะเป็นแค่เพียงเปลี่ยนรูป เส้นสายที่ราบเรียบขึ้นของ เอชเอ็ม9-เอสวี ยังลดทอนพื้นที่ซึ่งมีความเปราะบางทางจักรกลลง แต่ยังคงผนึกไว้ด้วยสุนทรียะความสวยงามแห่งท้องทะเล

เครื่องยนต์ของ HM9 นั้นเดินรอยตามเส้นทางที่บุกเบิกไว้โดยเหล่าเครื่องยนต์ของ Horological Machines N°4 (ออโรโลจิคัล แมชชีน นัมเบอร์ 4) และ N°6 โดยหลอมรวมด้วยประเพณีการสร้างสรรค์โครงสร้างแห่งกลไก ด้วยการประกอบเชิงสามมิติของเฟือง เกียร์ แท่นเครื่อง และสะพานจักรต่างๆ ภายใต้รูปทรงที่เหนือความคาดหมาย สำหรับบรรจุภายในตัวเรือนด้านนอกอันทรงพลัง และเป็นดั่งศูนย์รวมชีพจรของชิ้นส่วนจักรกลและภายใต้โครงร่างตัวเรือนผลึกคริสตัล

ด้วยความถี่การทำงานทั่วไปที่ 2.5 เฮิรตซ์ (18,000 ครั้งต่อชั่วโมง) ดูเหมือนจะแตกต่างไปจากเครื่องบอกเวลายุคสมัยใหม่ แต่ยังคงอ่อนไหวต่อแรงสั่นสะเทือนที่สัมพันธ์กับอัตราการทำงานที่ต่ำลง ทีมทำงานจึงทดแทนโดยการใช้บาลานซ์สองตัวแทนที่จะเป็นหนึ่งตัว หรือหากกล่าวในเชิงสถิติแล้ว คือระบบการทำงานของกลไกที่คล้ายกันสองระบบซึ่งนำเสนอการอ่านค่าที่ดีกว่าหนึ่งระบบ ทั้งยังมอบผลลัพธ์ที่ต่างไปจากทั่วไปในหลากหลายแง่มุมอีกด้วย

และเพื่อลดความอ่อนไหวต่อแรงสั่นสะเทือน รุ่น HM9-SV จึงนำเสนอด้วยระบบรองรับแรงสั่นสะเทือนใหม่ ด้วยสปริงรูปทรงเกลียวที่จัดวางอยู่ระหว่างกลไกและตัวเรือน สปริงนี้รังสรรค์ขึ้นด้วยเลเซอร์จากหลอดแข็งของสเตนเลสสตีลขัดเงา ซึ่งช่วยมอบความยืดหยุ่นที่ดีกว่า รวมถึงลดโอกาสของการเคลื่อนออกในแนวนอนที่จำกัด ทำหน้าที่ในการเฉลี่ยการวัดค่าเวลาจากบาลานซ์สปริงคู่ของ เครื่องยนต์ HM9 คือเฟืองท้ายแบบแพลเนตทารี (planetary differential) ภายในเกียร์บ็อกซ์ของกลไก ซึ่งจากนั้นจะส่งการอ่านค่าสุดท้ายมายังการแสดงบนหน้าปัดเชิงตั้งฉาก โดยการคำนวณทางจักรกลอันซับซ้อนนี้ได้เผยบางส่วนให้เห็นมาแล้วใน HM9 Flow ด้วยกระจกแซฟไฟร์โดมโค้งที่จัดวางเหนือบาลานซ์แต่ละตัว และด้วยแผ่นขยายที่กองอยู่เหนือเฟืองท้ายแบบแพลเนตทารี ภาพที่มองเห็นจึงตอกย้ำถึงบทบาทสำคัญในด้านความเที่ยงตรงของกลไก โดยใน HM9-SV ทุกๆ มุมมองของเครื่องยนต์นั้นได้ถูกเผยออกเพื่อให้ได้ค้นพบจากมุมมองทางสายตาที่สามารถสำรวจถึงความซับซ้อนของชิ้นส่วนต่างๆ นับจากกระปุกลานจนถึงบาลานซ์ จากเฟืองท้ายถึงหน้าปัด

และเพื่อผนึกชิ้นส่วนภายนอกของกระจกแซฟไฟร์ลงในตัวเรือนกันน้ำได้ ทางออกใหม่จึงจำเป็นต้องได้รับการคิดค้นและสร้างสรรค์ขึ้น ด้วยปะเก็นยางแบบสามมิติผ่านการจดสิทธิบัตรที่เคยถูกใช้มาแล้วใน HM9 Flow รุ่นดั้งเดิม แต่เพื่อให้มั่นใจได้ถึงประสิทธิภาพการกันน้ำ จากตัวเรือนแบบสามส่วนซึ่งหลอมเข้าด้วยกัน ปะเก็น 3-ดี (3-D) นี้จึงได้ถูกนำมาใช้ HM9-SV กระนั้น กระจกแซฟไฟร์จะถูกหลอมเข้ากับกรอบโลหะ ซึ่งเป็นผลลัพธ์มาจากตัวประสานสุดไฮเทค และควบคุมผ่านกระบวนการผลิตภายในโรงงานที่เกี่ยวข้องกับระบบสุญญากาศและอุณหภูมิสูง ผลลัพธ์คือการผนึกที่กันน้ำได้ที่ความกดอากาศ 3 เอทีเอ็ม (30 เมตร) แม้ว่าจะมีรอยต่อที่ไม่อาจมองเห็นระหว่างชิ้นส่วนแซฟไฟร์และกรอบที่เหลือน้อยที่สุดของทอง 18 กะรัต

HM9 ‘Sapphire Vision’ เปิดตัวด้วยสี่รุ่นแรก แต่ละรุ่นผลิตจำนวนจำกัดเพียงห้าเรือน โดยในสองรุ่นมาพร้อมกับกรอบ เรดโกลด์ 18 กะรัต ผสมผสานเข้ากับเครื่องยนต์เคลือบ NAC สีดำ หรือเคลือบ PVD สีน้ำเงิน และอีกสองรุ่นมาพร้อมกรอบไวท์โกลด์ 18 กะรัต ถ่ายทอดด้วยเครื่องยนต์เคลือบ พีวีดี สีม่วง หรือชุบเรดโกลด์ และในปี ค.ศ. 2023 นี้ ยังมีอีกสองรุ่นใหม่ที่ร่วมสมทบใน HM9 ‘Sapphire Vision’ นั่นคือรุ่นเครื่องยนต์เคลือบ PVD สีน้ำเงิน พร้อมด้วยกรอบไวท์โกลด์ และเครื่องยนต์เคลือบ PVD สีเขียว พร้อมกรอบเยลโลโกลด์ โดยทั้งคู่เป็นรุ่นผลิตจำนวนจำกัดเพียง 5 เรือน

ความใสบริสุทธิ์ของมุมมอง
คอรันดัม หรือโดยทั่วไปแล้วรู้จักกันในรูปแบบของกระจกแซฟไฟร์คุณภาพระดับอัญมณี คือหนึ่งในแร่ที่แข็งที่สุดเท่าที่มนุษย์เคยรู้จัก โดยเป็นรองด้านความแข็งจากวัสดุอื่นๆ เพียงไม่กี่ชนิด เช่น เพชร (ผลึกคาร์บอน) ซึ่งมีอัตราความแข็งที่ 10 บนสเกลโมห์ส (Mohs) ขณะที่คอรันดัมมีความแข็งที่ระดับ 9 โดยความแข็งพิเศษนี้ยังหมายความว่ากระจกแซฟไฟร์ของนาฬิกานั้นทนทานต่อการขีดข่วนได้ดี และมอบซึ่งความสามารถในการอ่านค่าได้อย่างชัดเจน เช่นเดียวกับการผสานของวัสดุที่มีความทนทานในระยะยาว ยังไม่นับรวมถึงการมอบซึ่งระดับแห่งความหรูหราที่แตกต่างจากการใช้กระจกซิลิเกตแบบทั่วไป หรือกระจกโพลีคาร์บอเนตโปร่งใส ซึ่งเป็นสองวัสดุตัวเลือกนอกเหนือจากกระจกนาฬิกาแซฟไฟร์

และควบคู่กัน กระจกแซฟไฟร์นี้ยังมีความท้าทายอย่างมากในการขึ้นรูปภายใต้รูปทรงแบบสามมิติอันซับซ้อน ซึ่งนับเป็นความท้าทายที่เกิดจากพิกัดความเผื่อในการผลิตขึ้นรูปด้วยเครื่องจักรที่จำเป็นต้องใช้ในการประดิษฐ์รังสรรค์นาฬิกา โดยนับตั้งแต่ผลงานสร้างสรรค์รุ่นแรกๆ เอ็มบีแอนด์เอฟ ได้ทำงานบนชิ้นส่วนกระจกแซฟไฟร์อันซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น HM2 ‘Sapphire Vision’ (เอชเอ็ม2 ‘แซฟไฟร์ วิชั่น’) หรือกระจกโค้งคู่ของ HM4 ‘Thunderbolt’ (เอชเอ็ม4 ‘ธันเดอร์โบลต์’) และเร็วๆ นี้ กับ HM3 FrogX (เอชเอ็ม3 ฟร็อกเอ็กซ์) รวมถึงโครงร่างอันแสนประหลาดใจของ HM6 ‘Alien Nation’ (’เอชเอ็ม6 ‘เอเลียน เนชั่น) ที่นับเป็นเพียงตัวอย่างหลักๆ

โดยการเตรียมกระจกสำหรับหนึ่งตัวเรือนของ HM9 ‘Sapphire Vision’ นั้นจำเป็นต้องใช้เวลาถึงราว 350 ชั่วโมง ของการบรรจงขึ้นรูปและขัดเงาอย่างระมัดระวัง ซึ่งแท้จริงแล้ว อาจต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์ของการทำงานมากไปกว่านั้น หากไร้ซึ่งประสบการณ์ด้านงานออกแบบและผลิตกระจกแซฟไฟร์ที่สั่งสมมาตลอดระยะเวลาหลายปี นับตั้งแต่ ค.ศ. 2005 ของ MB&F

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเครื่องยนต์ HM9
ผลลัพธ์แห่งสามปีของการพัฒนา เครื่องยนต์ HM9 ถูกคิดค้นและประกอบขึ้นทั้งหมดภายในโรงงานของตนเอง ด้วยประสบการณ์ที่สั่งสมมาจากกลไกแตกต่างกันถึง 20 คาลิเบอร์ของ MB&F จวบจนถึงปัจจุบัน

เหล่าสมาชิกอันยาวนานของ MB&F Tribe (เอ็มบีแอนด์เอฟ ไทรบ) ยังสามารถจดจำได้ทันทีถึงสายพันธุ์ทางจักรกลของเครื่องยนต์ HM9 ที่มีระบบบาลานซ์คู่พร้อมด้วยเฟืองท้ายซึ่งสืบทอดมาจากระบบจักรกลที่คล้ายกันใน Legacy Machine N°2 (เลกาซี แมชชีน นัมเบอร์ 2) แต่แตกต่างอย่างมากในด้านรูปแบบของความสวยงาม โดยขณะที่ LM2 นั้นย้ำถึงความบริสุทธิ์ของงานออกแบบ และมิติอันน่าประหลาดใจของออสซิเลเตอร์แบบซัสเพนเดด (suspended oscillators) หรือแขวนลอย ทว่าใน HM9 กลับมีความโดดเด่นโดยการเฉลิมฉลองให้กับงานออกแบบแห่งการแสดงออกอย่างแท้จริง

บาลานซ์สองตัวซึ่งทำงานอยู่ภายในกลไกชุดเดียวกันจะทำให้เกิดประเด็นด้านการสะท้อนอย่างเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ทางจักรกลที่อธิบายถึงออสซิเลเตอร์ที่เชื่อมโยงกันในสภาวะของการกระตุ้นอันสอดคล้องกลมกลืนร่วมกัน เหมือนกับในเครื่องยนต์ LM2 ที่ Horological Machine N°9 หลีกเลี่ยงจากการนำให้เกิดผลกระทบของการสะท้อน ด้วยวัตถุประสงค์ของการรวมบาลานซ์วีลสองตัวเข้าด้วยกันก็เพื่อให้ได้ชุดอันแม่นยำของข้อมูลที่มีความเที่ยงตรง ซึ่งสามารถแปลข้อมูลโดยเฟืองท้ายและผลิตเป็นการอ่านค่าเฉลี่ยเพียงหนึ่งเดียว วัตถุประสงค์นี้จึงเอาชนะได้โดยการแกว่งของบาลานซ์สองตัวอย่างสมบูรณ์แบบประสานกัน และมอบซึ่งข้อมูลอันเที่ยงตรงเดียวกันในทุกๆ จุด

การควบคุมบาลานซ์คู่ยังนับเป็นความท้าทายอย่างมาก โดยอุปกรณ์ตามมาตรฐานอุตสาหกรรมที่นำมาใช้ในการควบคุมการประกอบบาลานซ์ของนาฬิกานั้นใช้เสียงที่มอบให้โดยการแกว่งของบาลานซ์เพื่อวัดอัตราการทำงาน และเพราะเครื่องยนต์ เอชเอ็ม9 มีการประกอบไว้ด้วยบาลานซ์สองตัวที่ทำงานพร้อมกัน จึงสร้างเสียงสองชุด ด้วยวิธีการนี้จึงไม่อาจเป็นไปได้อีกต่อไป โดยเมื่อเปิดตัวครั้งแรกในปี ค.ศ. 2018 แต่ละตัวอย่างผลงานของ ออโรโลจิคัล แมชชีน นัมเบอร์ 9 จึงจำเป็นต้องผ่านการควบคุมโดยการบล็อกการทำงานของบาลานซ์ตัวหนึ่งเป็นอย่างแรกเพื่อปรับตั้งบาลานซ์ตัวที่เหลือ และทำกลับกันเช่นนี้ เมื่อบาลานซ์ทั้งคู่ถูกปล่อยให้ทำงาน การปรับตั้งกลไกจะเกิดขึ้นทีละน้อย และจำเป็นต้องใช้กระบวนการบล็อกใหม่อีกครั้งและปรับตั้งใหม่อีกครั้งในหลายรอบ ก่อนที่จะบรรลุถึงผลลัพธ์ด้านความเที่ยงตรงสูงสุด

นับจากนั้นเป็นต้นมา ทีมของ MB&F ได้สร้างความก้าวหน้าล้ำสมัยอันสำคัญในเชิงเทคนิคของการควบคุมความเที่ยงตรง ซึ่งได้มาจากประสบการณ์ที่สั่งสมและสืบทอดมาจากการสร้างสรรค์ Legacy Machine Thunderdome (เลกาซี แมชชีน ธันเดอร์โดม) ดังนั้น HM9-SV จึงได้รับทั้งประโยชน์และต่อยอดโดยการพัฒนาจากความเชี่ยวชาญเฉพาะในช่วงไม่กี่ปีนี้ ที่แม้ไม่มากในแง่ของเวลา แต่ก็ไม่อาจวัดค่าได้ในแง่ของ ทักษะแห่งความเชี่ยวชาญ

HM9-SV รายละเอียดจำเพาะทางเทคนิค
HM9 Sapphire Vision มาพร้อมหกรุ่น แต่ละรุ่นผลิตในจำนวนจำกัดเพียง 5 เรือน:
- สองรุ่น มาพร้อมกรอบเรดโกลด์ 5N+ 18 กะรัต ผสมผสานด้วยเครื่องยนต์เคลือบ เอ็นเอซี สีดำ หรือเคลือบ พีวีดี สีน้ำเงิน;
- สองรุ่น มาพร้อมกรอบไวท์โกลด์ 18 กะรัต บรรจุด้วยเครื่องยนต์เคลือบ พีวีดี สีม่วง หรือชุบเรดโกลด์;
- สองรุ่นใหม่ สำหรับปี ค.ศ. 2023 มาพร้อมกรอบเยลโลโกลด์ 18 กะรัต บรรจุด้วยเครื่องยนต์เคลือบ พีวีดี สีเขียว หรือกรอบไวท์โกลด์ 18 กะรัต พร้อมด้วยเครื่องยนต์เคลือบ พีวีดี สีน้ำเงิน

เครื่องยนต์
กลไกจักรกลไขลานด้วยมือ ผลิตในโรงงาน
บาลานซ์วีลอิสระอย่างสมบูรณ์สองตัว พร้อมด้วยเฟืองท้ายแบบแพลเนตทารี
ความถี่: 2.5 เฮิรตซ์ (18,000 ครั้งต่อชั่วโมง)
ตลับลานหนึ่งตัว พร้อมพลังงานสำรอง 45 ชั่วโมง
ชิ้นส่วน 301 ชิ้น, ทับทิม 52 เม็ด
แสดงเวลาชั่วโมงและนาทีบนหน้าปัดแนวตั้ง
กังหันรูปทรงกลมคู่ใต้กลไก
สปริงแบบเกลียวรองรับแรงสั่นสะเทือนที่เชื่อมโยงกลไกเข้ากับตัวเรือน

ตัวเรือน
รุ่น ‘เอสวี’ ทำจากกระจกแซฟไฟร์ พร้อมกรอบไวท์โกลด์ เยลโลโกลด์ หรือเรดโกลด์ (5+) 18 กะรัต
หน้าปัดชั่วโมง/นาทีทำจากกระจกแซฟไฟร์ พร้อมการเคลือบกันแสงสะท้อน และบรรจุสารเรืองแสงซูเปอร์-ลูมิโนวา (Super-LumiNova) บนตัวเลขและเครื่องหมายอินเด็กซ์บอกเวลา
สัดส่วน: 57 มม. X 47 มม. x 23 มม.
จำนวนชิ้นส่วน 52 ชิ้น
กันน้ำได้ระดับ 3 เอทีเอ็ม (30 เมตร)
กระบวนการประกอบเฉพาะหนึ่งเดียวของชิ้นส่วนตัวเรือนกระจกแซฟไฟร์สามส่วน พร้อมด้วยปะเก็นสามมิติผ่านการจดสิทธิบัตร และตัวประสานไฮเทค

กระจกแซฟไฟร์
รวมกระจกแซฟไฟร์ทั้งหมดห้าชิ้น เคลือบกันแสงสะท้อน: สามชิ้นสำหรับชิ้นส่วนหลักของตัวเรือน, หนึ่งชิ้นเหนือหน้าปัด และหนึ่งชิ้นสำหรับตัวหน้าปัดเอง

สายและหัวเข็มขัดสาย
สายหนังจระเข้สีน้ำตาลหรือสีดำเย็บตะเข็บมือ พร้อมด้วยหัวเข็มขัดแบบบานพับเรดโกลด์ เยลโลโกลด์ หรือไวท์โกลด์ จับคู่กับตัวเรือน

‘เพื่อน’ ผู้รับผิดชอบการสร้างสรรค์ HM9-SV
แนวคิด: Maximilian Büsser / MB&F
ออกแบบ: Eric Giroud / Through the Looking Glass
บริหารจัดการด้านเทคนิคและการผลิต: Serge Kriknoff / MB&F
พัฒนากลไก / วิจัยและพัฒนา: Thomas Lorenzato, Robin Cotrel, David Tholomier, Romain Tissot and Pierre-Alexandre Gamet / MB&F
กรรมวิธีและการทดลองในห้องปฏิบัติการ: Maël Mendel and Anthony Mugnier / MB&F

การประกอบกลไก: Didier Dumas, Georges Veisy, Anne Guiter, Emmanuel Maitre, Henri Porteboeuf, Mathieu Lecoultre and Amandine Bascoul / MB&F
การผลิตขึ้นรูปภายในโรงงาน: Alain Lemarchand, Jean-Baptiste Prétot, Yoann Joyard and Stéphanie Cavalho / MB&F
การควบคุมคุณภาพ: Cyril Fallet and Jennifer Longuepez / MB&F
การบริการหลังการขาย: Antony Moreno / MB&F
ตัวเรือน: Aurélien Bouchet / AB Product
กระจกแซฟไฟร์: Alexandre Gros / Novo Crystal and SaphirWerk
การเคลือบกันแสงสะท้อนสำหรับกระจกแซฟไฟร์: Anthony Schwab / Econorm
เฟือง, เฟืองเดือย และแกน: Paul André Tendon Bandi, Jean-François Mojon / Chronode, Sébastien Jeanneret / Atokalpa, Daniel Gumy / Decobar Swiss, Le Temps Retrouvé, Gimmel Rouage
บาลานซ์วีล: Sébastien Jeanneret / Atokalpa
แท่นเครื่อง และสะพานจักร: Benjamin Signoud / Amecap
กระปุกลาน: Stefan Schwab / Schwab-Feller
ตัวขับเคลื่อน: Alain Pelet / Elefil
การเคลือบ พีวีดี (PVD): Pierre-Albert Steinman / Positive Coating
งานตกแต่งด้วยมือของชิ้นส่วนกลไก: Jacques-Adrien Rochat and Denis Garcia / C.-L. Rochat
เข็มชี้: Isabelle Chillier / Fiedler
ปะเก็นสามมิติ: A. Aubry
สปริง: Createch
หัวเข็มขัดสาย: G&F Châtelain
เม็ดมะยม: Cheval Frères
สาย: Multicuirs
กล่องบรรจุภัณฑ์: Olivier Berthon / SoixanteetOnze
โลจิสติกส์การผลิต: Ashley Moussier, Mélanie Ataide, Thibaut Joannard, Maryline Leveque, Emilie Burnier/ MB&F

การตลาดและสื่อสาร: Charris Yadigaroglou, Vanessa André, Arnaud Légeret, Paul Gay and Talya Lakin / MB&F
ออกแบบกราฟิก: Sidonie Bays / MB&F
M.A.D.Gallery: Hervé Estienne and Margaux Dionisio Cera / MB&F
ฝ่ายขาย: Thibault Verdonckt, Virginie Marchon, Cédric Roussel, Jean-Marc Bories and Augustin Chivot / MB&F
เนื้อหา: Ian Skellern / Quill & Pad
ภาพถ่ายผลิตภัณฑ์: Maarten van der Ende, Laurent-Xavier Moulin, Alex Teuscher and Eric Rossier
ภาพยนตร์: Marc-André Deschoux / MAD LUX
ภาพถ่ายบุคคล: Régis Golay / Federal
เว็บไซต์: Stéphane Balet / Ideative

เกี่ยวกับ MB&F
MB&F ต้นกำเนิดแห่งแนวคิดห้องปฏิบัติการด้านเครื่องจักรกลบอกเวลา
ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 2005 MB&F คือห้องปฏิบัติการเครื่องจักรกลบอกเวลาแนวคิดใหม่แห่งแรกของโลก ด้วยชุดกลไกที่น่าทึ่งเกือบ 20 ชุด ที่สร้างฐานอันมั่นคงให้กับเครื่องจักรกลบอกเวลาอันมีชื่อเสียง ทั้งในคอลเลกชัน Horological Machines (ออโรโลจิคัล แมชชีน) และ Legacy Machines (เลกาซี แมชชีน) โดย MB&F ยังคงดำเนินรอยตามวิสัยทัศน์ของ Maximilian Büsser (แม็กซิมิเลียน บูซเซอร์) ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการด้านการสร้างสรรค์ในการสร้างศิลปะจลศาสตร์สามมิติที่แตกต่างจากการประดิษฐ์นาฬิกาแบบดั้งเดิม

หลัง 15 ปีของการบริหารงานให้กับเหล่าแบรนด์นาฬิกาอันทรงเกียรติMaximilian Büsser ได้ลาออกจากตำแหน่งผู้อำนวยการบริหาร ณ Harry Winston ในปี ค.ศ. 2005 เพื่อสร้างสรรค์แบรนด์ MB&F ที่ย่อมาจาก Maximilian Büsser & Friends โดย MB&F เป็นห้องปฏิบัติการเชิงศิลป์และวิศวกรรมจุลภาค ที่ทุ่มเทให้กับการออกแบบและประดิษฐ์รังสรรค์นาฬิกาตามแนวคิดสุดขั้ว ด้วยจำนวนการผลิตไม่มาก แต่เป็นการรวบรวมเหล่ายอดฝีมือและมืออาชีพด้านเครื่องบอกเวลาผู้เปี่ยมด้วยพรสวรรค์ ที่บูซเซอร์ทั้งให้ความเคารพและสนุกกับการทำงานร่วมกัน

ในปี ค.ศ. 2007 MB&F เปิดตัวนาฬิกา Horological Machine รุ่นแรกใน HM1 ภายใต้ประติมากรรมตัวเรือนสามมิติและเครื่องยนต์ (กลไก) ที่ได้รับการตกแต่งอย่างสวยงาม ซึ่งได้มอบมาตรฐานให้กับเหล่านาฬิกาในตระกูล ออโรโลจิคัล แมชชีน รุ่นถัดมา ที่นับเป็นแมชชีน (Machines) ทุกๆ เรือนซึ่งบอกเวลาได้ มิใช่เป็นเพียงในฐานะเครื่องบอกเวลาเท่านั้น โดย ออโรโลจิคัล แมชชีน ได้ออกสำรวจมาแล้วทั้งในโลกอวกาศ (HM2, HM3), HM6, ท้องฟ้า (HM4, HM9), ท้องถนน (HM5, HMX, HM8) และอาณาจักรของสัตว์ (HM7, HM10)

ในปี ค.ศ. 2011 MB&F เปิดตัวคอลเลกชัน Legacy Machine ภายใต้ตัวเรือนทรงกลมร่วมสมัย โดยผลงานเหล่านี้เป็นมากกว่าความคลาสสิกซึ่งรังสรรค์ขึ้นเพื่อสดุดีให้กับความเป็นเลิศของการประดิษฐ์นาฬิกาในศตวรรษที่ 19 โดยการตีความใหม่ให้กับความซับซ้อนจากเหล่านักประดิษฐ์นวัตกรรมเรือนเวลาผู้ยิ่งใหญ่ในอดีตเพื่อสร้างสรรค์งานศิลปะร่วมสมัย เริ่มจากผลงาน LM1 และ LM2 จากนั้นจึงตามมาด้วย LM101 ที่นับเป็นเครื่องจักรบอกเวลาหรือแมชชีนของ เอ็มบีแอนด์เอฟ รุ่นแรก ที่นำเสนอด้วยกลไกซึ่งพัฒนาขึ้นทั้งหมดภายในโรงงานของตนเอง (in-house) ก่อนจะขยายคอลเลกชันนี้ไปสู่ความสมบูรณ์แบบและซับซ้อนของทั้งผลงาน LM Perpetual (แอลเอ็ม เพอร์เพทชวล), LM Split Escapement (แอลเอ็ม สปลิท เอสเคปเมนท์) และ LM Thunderdome (แอลเอ็ม ธันเดอร์โดม) โดยในปี ค.ศ. 2019 นับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ กับการสร้างสรรค์ MB&F แมชชีน รุ่นแรกที่อุทิศให้กับสุภาพสตรี นั่นคือ LM FlyingT (แอลเอ็ม ฟลายอิ้งที) และ MB&F ได้เฉลิมฉลอง 10 ปีของ Legacy Machine ในปี ค.ศ. 2021 ด้วย LMX ซึ่งโดยปกติแล้ว MB&F จะสลับระหว่างการเปิดตัว Horological Machine อันร่วมสมัยและแปลกแหวกแนวไปจากประเพณีดั้งเดิม กับผลงานของ Legacy Machine ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ โดยมี F ที่หมายถึงผองเพื่อน (Friends) และเป็นไปโดยธรรมชาติที่ MBF ได้พัฒนาความร่วมมือขึ้นมากมายร่วมกับเหล่าศิลปิน ช่างนาฬิกา นักออกแบบ และผู้ผลิต ที่พวกเขาต่างยกย่อง

และด้วยความร่วมมือนี้เองที่ได้นำพามาซึ่งสองสาขาใหม่ นั่นคือศิลปะการแสดง (Performance Art) และความร่วมมือแห่งการสร้างสรรค์ (Co-creations) ขณะที่ชิ้นงานศิลปะการแสดงนั้นคือแมชชีนรุ่นต่างๆ ของ เอ็มบีแอนด์เอฟ ที่ได้นำมากลับมารังสรรค์ใหม่อีกครั้งโดยผู้เชี่ยวชาญและเปี่ยมด้วยพรสวรรค์จากนอกองค์กร กับความร่วมมือแห่งการสร้างสรรค์ต่างๆ ที่ไม่ได้จำกัดเฉพาะเพียงนาฬิกาข้อมือ แต่ยังรวมไปถึงประเภทอื่นๆ ของเครื่องยนต์จักรกลหรือแมชชีน ที่ผ่านการคิดค้นทางวิศวกรรมและรังสรรค์ขึ้นด้วยงานฝีมือโดยเหล่าผู้ผลิตนาฬิกาสวิสจากแนวคิดและงานออกแบบของ เอ็มบีแอนด์เอฟ และผลงานหลายๆ ชิ้นจากความร่วมมือแห่งการสร้างสรรค์เหล่านี้ อาทิ นาฬิกาคล็อกบอกเวลาที่สร้างสรรค์ขึ้นร่วมกับ L’Epée 1839) (เลเป 1839 เช่นเดียวกับความร่วมมืออื่นๆ กับ Reuge (รูช) และ Caran d’Ache(คารันดาช) ที่ได้สร้างสรรค์หลากหลายรูปแบบของศิลปะจักรกลไว้ด้วยกัน

และเพื่อมอบสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับเครื่องยนต์จักรกลหรือแมชชีนเหล่านี้ทั้งหมด บูซเซอร์ได้มีแนวคิดของการจัดแสดง ผลงานเหล่านี้ไว้ภายในแกลลอรีศิลปะ ร่วมไปกับอีกหลากหลายรูปแบบของศิลปะจักรกลที่สร้างสรรค์ขึ้นโดยศิลปินแขนงอื่นๆ ที่เป็นมากไปกว่าการจัดแสดงหน้าร้านเหมือนทั่วไป และนั่นได้นำมาสู่การสร้างสรรค์ของ เอ็มบีแอนด์เอฟ แมดแกลลอรี (MB&F M.A.D.Gallery) (M.A.D. หมายถึง Mechanical Art Devices) แห่งแรกขึ้นในเจนีวา ซึ่งต่อมายังได้เปิดตัวตามมาโดยเหล่าแมดแกลลอรีแห่งต่างๆ ทั้งในไทเป ดูไบ และฮ่องกง

ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีรางวัลอันโดดเด่นอีกมากมายที่ย้ำเตือนถึงธรรมชาติแห่งนวัตกรรมการเดินทางสร้างสรรค์สำหรับ MB&F ซึ่งหากจะกล่าวถึงบางส่วนแล้ว มีไม่น้อยกว่า 9 รางวัลจากเวทีอันมีชื่อเสียงและทรงเกียรติสูงสุดของ Grand Prix d'Horlogerie de Genèvev(กรังด์ ปรีซ์ เดอ’ออร์โลเฌอรี เดอ เฌแนฟ) ซึ่งรวมไปถึงรางวัลสูงสุด อย่าง “Aiguille d’Or” (มือทองคำ) ที่มอบให้กับนาฬิกายอดเยี่ยมแห่งปี โดยในปี ค.ศ. 2022 LM Sequential EVO (แอลเอ็ม ซีเควนเชียล อีโว) ได้รับรางวัล Aiguille d’Or ขณะที่ M.A.D.1 RED (แมดวัน เรด) คว้ารางวัลประเภท ‘Challenge’ มาได้สำเร็จ เช่นเดียวกับใน ค.ศ. 2021 ที่เอ็มบีแอนด์เอฟ ได้รับสองรางวัลอันทรงเกียรติ โดยรางวัลหนึ่งสำหรับผลงานรุ่น แอลเอ็มเอ็กซ์ (LMX) ในฐานะนาฬิกาสลับซับซ้อนสำหรับสุภาพบุรุษยอดเยี่ยม (Best Men’s Complication) และอีกหนึ่งรางวัลจาก แอลเอ็ม เอสอี เอ็ดดี้ ฌาเกต์ ‘อะราวนด์ เดอะ เวิลด์ อิน เอจตี้ เดย์ส’ (LM SE Eddy Jaquet ‘Around The World in Eighty Days’) ในประเภท ‘งานหัตถศิลป์’ (‘Artistic Crafts’) ขณะที่ในปี ค.ศ. 2019 จากรางวัลนาฬิกาสลับซับซ้อนสำหรับสุภาพสตรียอดเยี่ยม (Best Ladies Complication) ที่มอบให้กับ แอลเอ็ม ฟลายอิ้งที (LM FlyingT) และในปี ค.ศ. 2016 จาก แอลเอ็ม เพอร์เพทชวล (LM Perpetual) ที่ชนะรางวัลนาฬิกาปฏิทินยอดเยี่ยม (Best Calendar Watch) หรือเช่นในปี ค.ศ. 2012 ที่ เลกาซี แมชชีน นัมเบอร์ 1 (Legacy Machine No.1) ได้คว้ารางวัลทั้งในสาขารางวัลสาธารณชน (Public Prize) (ซึ่งโหวตโดยเหล่าคนรักเรือนเวลา) และรางวัลนาฬิกาสุภาพบุรุษยอดเยี่ยม (Best Men’s Watch Prize) (โหวตให้โดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ) และในปี ค.ศ. 2010 เอ็มบีแอนด์เอฟ ชนะรางวัลนาฬิกาคอนเซปต์และงานออกแบบยอดเยี่ยม (Best Concept and Design Watch) จากผลงานรุ่น เอชเอ็ม4 ธันเดอร์โบลต์ (HM4 Thunderbolt) ส่วนในปี ค.ศ. 2015 เอ็มบีแอนด์เอฟได้รับรางวัลยอดเยี่ยมของ เรด ดอท (Red Dot: Best of the Best) ซึ่งนับเป็นรางวัลสูงสุดของการมอบรางวัลระดับสากล เรด ดอท อวอร์ดส (Red Dot Awards) จากผลงานรุ่น เอชเอ็ม6 สเปซ ไพเรท (HM6 Space Pirate)

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้