Last updated: 4 มิ.ย. 2564 | 697 จำนวนผู้เข้าชม |
Audemars Piguet แบรนด์เครื่องบอกเวลาชั้นสู งจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ผู้ไม่ เคยหยุดนิ่งในการพัฒนาเรือนเวลา เปิดตัวนาฬิกาโครโนกราฟออโตเมติก 2 โมเดลใหม่ในคอลเลกชั่น Code 11.59 by Audemars Piguet ด้วยดีไซน์ทันสมัยที่ผสานไวท์โกลด์ หรือพิ้งค์โกลด์ 18 กะรัต เข้ากับแบล็คเซรามิก แสดงถึงความงดงามและพิถีพิถันในการรังสรรค์ นาฬิกาทูโทนคอลเลกชั่นนี้ถือเป็นการยกระดับการผลิตและการเก็บรายละเอียดของตัวเรือนที่มีหลากหลายเหลี่ยมมุมให้สูงขึ้นอีกขั้น
“นาฬิกา Selfwinding Chronograph รุ่นล่าสุดถือเป็นพัฒนาการใหม่ ของคอลเลกชั่น Code 11.59 by Audemars Piguet ด้วยการผสมผสานวัสดุใหม่ และการสร้างสรรค์หน้าปัดที่มากด้วยรายละเอียด ทีมของเราได้ก้าวข้ามขีดจำกัดไปอีกขั้น เพื่อตอบรับความท้าทายในเทคนิคใหม่ๆ โดยเฉพาะการนำมิดเดิ้ลเคสซึ่งเป็นเซรามิกสีดำมาประกอบเข้ากับขอบตัวเรือน ข้อต่อตัวเรือน และฝาหลังจากทองการขัดลายซาตินแบบแนวตั้งบนหน้าปัดยังเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบที่ต้องสมบูรณ์ แบบที่สุดเพื่อให้เข้ากันกับความละเอียดอ่อนในการสร้างสรรค์ตัวเรือนด้วยเทคนิคเทรตส์ทิเรส์“ /Sofia Candeias - Head of Product and Design Management
แบล็คเซรามิกที่ซ่อนอยู่ภายใต้ ทอง
นาฬิกา Selfwinding Chronograph รุ่นใหม่ทั้งสองเรือนเผยให้เห็นดีไซน์ตัวเรือนทูโทนที่ดูร่วมสมัยกว่าเดิม ด้วยมิดเดิ้ลเคสทรงแปดเหลี่ยมโดดเด่นด้วยแบล็คเซรามิก ในขณะที่ขอบตัวเรือนขานาฬิกาและฝาด้านหลังถูกรังสรรค์ขึ้นด้วยไวท์โกลด์หรือพิ้งค์โกลด์ 18 กะรัต โดยการผสมผสานเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย เข้ากับวิธีสร้างสรรค์เรือนเวลาจากแบบดั้งเดิม จำเป็นต้องใช้การวางโปรแกรมที่มีความซับซ้อน เครื่องมือที่ออกแบบโดยเฉพาะและความสามารถของช่างผู้ ชำนาญเพื่อการรังสรรค์เรือนเวลาและการเก็บรายละเอียดของแต่ละองค์ประกอบด้วยมือ
ตัวเรือนชิ้นกลางทำด้วยเซรามิกได้ถูกสร้างสรรค์ขึ้นภายใต้การร่วมมือกับ Bangerter บริษัทสัญชาติสวิตเซอร์แลนด์ผู้เชี่ยวชาญในการผลิตชิ้นส่วนด้วยวัสดุเนื้อแข็ง ไม่ว่าจะเป็นเซรามิก ทังสเตนคาร์ไบด์ และวัสดุที่มีความแข็งแรงสูงชนิดอื่นๆ การผลิตมิดเดิ้ลเคสสำหรับนาฬิกา Selfwinding Chronograph มีขั้นตอนที่ซับซ้อนโดยการผสมเซอร์โคเนียมออกไซด์ เข้ากับสารยึดเกาะ ด้วยวิธีการแบบลับเฉพาะของ Bangerter วัตถุดิบนี้ได้รับการขึ้นรูปทรงเบื้องต้นด้วยเทคโนโลยี ของเครื่อง CNC แบบ 5 แกนรุ่นล่าสุดและเมื่อขึ้นรูปครั้งแรกเสร็จจะนำสารยึดเกาะออกจากชิ้นส่วนของนาฬิกาและนำไปเผาที่อุณหภูมิประมาณ 1,400 องศาเซลเซียสเพื่อเพิ่มความแข็ง ความท้าทายของการทำงานเซรามิกนี้ คือวัสดุจะหดตัวในระหว่างกระบวนการเผาประมาณ 25% หลังจากนั้นชิ้นส่วนจะถูกกลึงด้วยเครื่องมือสำหรับเพชรที่ความแม่นยำอย่างสูง เพื่อเตรียมชิ้นส่วนให้พร้อมสำหรับการเก็บรายละเอียดของเหลี่ยมมุมต่างๆและการขัดลายซาติน ก่อนที่จะถึงขั้นตอนสุดท้ายที่รังสรรค์ด้วยมือโดยผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่างดี
ส่วนประกอบทั้งเซรามิกและทองของนาฬิการุ่น Code 11.59 by Audemars Piguet ล้วนผ่านการขัดด้วยมือทั้งหมด โดยใช้เอกลักษณ์ของ Audemars Piguet อย่างการขัดลายซาตินและการขัดเงาลบมุมด้วยความพิถีพิถันถือเป็นความท้าทายครั้งใหม่เพื่อให้ได้องค์ประกอบที่สมบูรณ์ แบบที่สุดระหว่างชิ้นส่วนที่เป็นทองและเซรามิกซึ่งผสมผสานความแตกต่างของวัสดุและพื้นผิวที่มีทั้งความโค้งมนและเหลี่ยมมุมเข้าด้วยกัน นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มลูกเล่นที่ น่าสนใจและมีมิติยิ่งขึ้นเมื่อกระทบกับแสง
หน้าปัดเปี่ยมเอกลักษณ์ร่วมสมัย
ทั้งรุ่นพิ้งค์โกลด์และไวท์โกลด์ 18 กะรัต ดูโดดเด่นยิ่งขึ้นด้วยหน้าปัดสีสโมคเกรย์ ที่ไล่เฉดสีเทาจากเข้มไปสู่เฉดที่อ่อนลงได้อย่างลงตัว มาพร้อมรายละเอียดของการขัดลายซาตินในแนวตั้งเข้ากับตัวเรือนที่ผ่านการขัดลายแบบซาตินอย่างพิถีพิถัน หน้าปัดโครโนกราฟและขอบตัวเรือนด้านในสีดำช่วยเพิ่มมิติให้กับหน้าปัดของเรือนเวลาและเข้ากันได้ดีกับมิดเดิ้ลเคสแบล็คเซรามิก ทรงแปดเหลี่ยม นอกจากนี้เครื่องหมายบอกหลักชั่วโมงและเข็มนาฬิกาทั้งไวท์โกลด์ และพิ้งค์โกลด์ 18 กะรัต ช่วยเติมความสว่างไสวให้กับนาฬิกา
กลไกฟลายแบ็กโครโนกราฟ คาลิเบอร์ 4401
นาฬิกา Selfwinding Chronograph ทั้งสองเรือนนี้มาพร้อมคาลิเบอร์ 4401 ซึ่งเป็นกลไกการจับเวลาล่าสุดของโอเดอมาร์ปิเกต์ โดยใช้ระบบคอลัมน์วีล และฟลายแบ็คฟังก์ชั่น ที่สามารถเริ่มต้นจับเวลาใหม่ได้โดยไม่ต้องหยุดหรือรีเซ็ตด้วยกลไกอัตโนมัติพร้อมการกักเก็บพลังงาน 70 ชั่วโมง และคุณสมบัติกันน้ำได้ถึง 30 เมตร เรือนเวลาทั้งสองเรือนนี้จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้มีไลฟ์สไตล์ที่ท้าทายและไม่หยุดนิ่ง
คาลิเบอร์ 4401 ได้รับการติดตั้งเพิ่มเติมด้วยระบบคลัทช์แนวตั้งที่ป้องกันไม่ให้เข็มนาฬิกเคลื่อนเมื่อเริ่มหรือหยุดการจับเวลา รวมถึงกลไกการรีเซ็ตเป็นศูนย์ที่ ได้การจดสิทธิบัตรเฉพาะ ซึ่งเป็นระบบเพื่อยืนยันว่าเข็มนับเวลาทุกเข็มจะถูกรีเซ็ตเป็นศูนย์ได้อย่างราบรื่น กลไกนี้ยังเผยให้เห็นรายละเอียดของชิ้นส่วนที่โดยทั่วไปมักจะซ่อนไว้ผ่านฝาหลังแซฟไฟร์อย่างคอลัมน์วีล และการเคลื่อนไหวของของค้อนโครโนกราฟที่ถูกเรียกว่า "Dance" รวมถึงรายละเอียดการตกแต่งที่ สะท้อนความหรูหราของคอลเลกชั่น ไม่ว่าจะเป็น Oscillating Weight ที่ผลิตจากพิ้งค์โกลด์ 22 กะรัต, ลาย Côtes de Genève เทคนิคเทรตส์ทิเรส์และ Circular Graining ซึ่งทั้งหมดสามารถมองเห็นได้อย่างเด่นชัดผ่านฝาด้านหลังของเรือนเวลาเรือนนี้
สายนาฬิกาเคลือบยางกับเทกซ์เจอร์ร่วมสมัย
นาฬิกา Selfwinding Chronograph ในคอลเลกชั่นนี้มาพร้อมกับสายเคลือบยางสีดำ ซึ่งเป็นการเคลือบยางโดยวัสดุ ภายในเป็นหนังลูกวัวเพิ่มรายละเอียดด้วยเทกซ์เจอร์ บนสายนาฬิกาเพื่อความทันสมัย สายนาฬิกาถูกเชื่อมต่อโดยตรงกั บขานาฬิกาแบบโอเพ่นเวิร์คที่เชื่อมต่อกับขอบตัวเรือนได้อย่างลงตัว ยิ่งถ่ายทอดให้เห็นเทคนิคการรังสรรค์ชิ้นงานด้วยมือที่ประณีตและเน้นให้ตัวเรือนในสีตัดกันแบบทูโทนดูโดดเด่นยิ่งขึ้น
8 ต.ค. 2567
26 ก.ย. 2567
20 ก.ย. 2567
7 ต.ค. 2567