Last updated: 12 ก.ค. 2562 | 1309 จำนวนผู้เข้าชม |
เกี่ยวกับ Five Deeps
ภารกิจการนำยานสำรวจพร้อมมนุษย์ดำดิ่งลงไปยังจุดที่ลึกที่สุด 5 แห่งในมหาสมุทร ซึ่งแนวคิดดังกล่าวเริ่มต้นมาจาก วิคเตอร์ เวสโคโว นักผจญภัยและนักบังคับยานใต้น้ำชาวอเมริกัน โดยปฏิบัติการพิเศษนี้ประกอบด้วย
· DSSV Pressure Drop เรือชั้นยอดที่คอยสนับสนุนอยู่บนผิวน้ำ ถูกติดตั้งด้วย Full Ocean Depth Sonar ที่มีความน่าเชื่อถือสูง
· ส่วนการผจญภัยใต้สมุทรเป็นหน้าที่ของยาน DSV Limiting Factor ยานใต้น้ำจากบริษัท Triton ที่ ได้รับการรับรองโดยองค์การทางทะเลระหว่างประเทศ DNV-GL สำหรับใช้ดำสำรวจที่ความลึกระดับสูง ออกแบบให้ทนต่อแรงดันน้ำมหาศาลได้อย่างยอดเยี่ยม
· ขณะที่การเก็บรวบรวมข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ณ พื้นมหาสมุทรจะเป็นหน้าที่ของ “Landers” ทั้ง 3ระบบ
ตำนานเรือนเวลาดำน้ำอันโด่งดังของ OMEGA
· ปี 1932 แบรนด์ได้เปิดตัวนาฬิกาสำหรับนักดำน้ำเรือนแรกของโลกที่มีชื่อว่า โอเมก้า มารีน (OMEGA Marine)
· ในช่วงทศวรรษเดียวกัน โอเมก้า มารีน ยังถูกสวมใส่โดยชาร์ลส วิลเลียม บีเบ (Charles William Beebe) นักสำรวจใต้น้ำชาวอเมริกัน ผู้ประดิษฐ์ ‘บาธีสเฟียร์’ (Bathysphere) เครื่องดำน้ำทรงกลมที่สามารถพามนุษย์ดำดิ่งลงไปสำรวจใต้มหาสมุทร โดยเครื่องบอกเวลาดังกล่าวสามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์แบบตลอดการดำดิ่งครั้งประวัติศาสตร์ที่ความลึก 14 เมตร
ชาร์ลส วิลเลียม บีเบ กล่าวว่า "ผมใส่นาฬิกา OMEGA Marine ระหว่างที่ดำลงไปในมหาสมุทรแปซิฟิกที่ความลึก 14 เมตร ซึ่งแรงดันสูงเป็นสองเท่าของสภาวะปกติ เรือนเวลาผนึกไว้แน่นหนามากเสียจนไม่มีน้ำหรือฝุ่นละอองใดสามารถเล็ดลอดเข้าไปได้ และความทนทานต่อการกัดกร่อนนั้นนับได้ว่าเป็นตัวแทนถึงพลังแห่งวิทยาศาสตร์ที่อัดแน่นอยู่ในขั้นตอนการผลิตเรือนเวลาโดยแท้จริง"
· ปี 1948 เรือนเวลาซีมาสเตอร์ (Seamaster) รุ่นแรกเปิดตัวอย่างเป็นทางการ โดยได้รับความนิยมอย่างสูงในหมู่นักบินและลูกเรืออังกฤษ ในเรื่องคุณสมบัติกันน้ำและสมรรถนะที่น่าเชื่อถือระหว่างการทำภารกิจ
· ปี 1957 โอเมก้าได้ก้าวไปอีกระดับด้วยการเปิดตัวซีมาสเตอร์ 300 (Seamaster 300) ที่ออกแบบมาสำหรับนักดำน้ำและผู้ที่ทำงานใต้น้ำโดยเฉพาะ
· ปี 1970 เรือนเวลาโพลพรอฟ (Ploprof) ที่เป็นเอกลักษณ์ของโอเมก้าเผยโฉมเป็นครั้งแรก และได้รับการทดสอบใต้น้ำโดยนักสำรวจใต้ทะเลระดับตำนานอย่าง Jacques-Yves Cousteau
· หนึ่งปีถัดมาหลังจากนาฬิกาซีมาสเตอร์ 1000 (Seamaster 1000) เปิดตัวครั้งแรกในปี 1971
โอเมก้าก็ได้เริ่มต้นผลิตซีมาสเตอร์ 120 “บิ๊กบลู” (Seamaster 120 “Big Blue”) และได้กลายเป็นเรือนเวลาที่ Jacques Mayol นักดำน้ำตัวเปล่าเลือกสวมใส่ในการดำทำลายสถิติโลกที่ระดับความลึก 101 เมตรในปี 1981
· ปี 1993 โอเมก้าเปิดตัวเรือนเวลาที่ได้รับความนิยมอย่างสูงอย่าง ซีมาสเตอร์ ไดเวอร์ 300M (Seamaster Diver 300M) ก่อนปรับโฉมและเปิดตัวอีกครั้งในวาระครบรอบ 25 ปีในปี 2018
· ย้อนกลับไปปี 2005 ถือเป็นจุดเริ่มต้นก้าวสำคัญเกี่ยวกับ Ultra Deep ทั้งยังเป็นปีเดียวกับที่แบรนด์เผยโฉม Planet Ocean เป็นครั้งแรก
ดำดิ่งสู่โลกใต้สมุทรที่ลึกยิ่งกว่าเดิม กับ ซีมาสเตอร์ แพลเน็ต โอเชียน อัลตร้า ดีพ โปรเฟสชั่นแนล
คอนเซ็ปต์ของเรือนเวลา
ผู้ผลิตเรือนเวลาสวิสอาจมีความชำนาญในการผลิตเรือนเวลาดำน้ำสำหรับผู้ที่ใช้งานจริงในน้ำลึก แต่สำหรับเครื่องบอกเวลาที่ใช้ในภารกิจ Five Deeps Expedition นั้น ทุกองค์ประกอบต้องเริ่มต้นใหม่ทั้งหมด รวมไปถึงการเผชิญรับกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกขั้นตอน ซึ่งผลลัพธ์ที่ออกมาก็พิสูจน์แล้วว่าคุ้มค่า! ความสำเร็จของโอเมก้าได้ยกระดับการผลิตเรือนเวลาของตนด้วยความสำเร็จจากเทคโนโลยีการผลิตแบบใหม่ ที่ไม่เพียงจะตอบโจทย์แต่ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการผลิตนาฬิกาดำน้ำในอนาคตได้อีกเช่นกัน
ท้าทายโลกใต้สมุทรด้วยเรือนเวลาที่บางยิ่งกว่าเดิม
ไม่จำเป็นต้องมีตัวเรือนขนาดใหญ่เพื่อให้สามารถทานแรงดันน้ำมหาศาลอีกต่อไป หลังจากโอเมก้าสามารถผลิตเรือนเวลาดำน้ำที่มีความหนาไม่เกิน 28 มม. โดยไม่ลดทอนคุณสมบัติการทนทานต่อแรงดันที่เหนือระดับ ทว่าหนทางสู่ความสำเร็จนั้นย่อมไม่ได้เกิดขึ้นอย่างง่ายดาย เพื่อที่จะมั่นใจได้ว่าตัวเรือนอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ นาฬิกา Ultra Deep จึงถูกนำไปวิเคราะห์ต่อเพื่อบอกคุณสมบัติด้านต่างๆ อย่างครบถ้วน
ผลิตขึ้นเพื่อ – และจาก – Limiting Factor
การผลิตเรือทนความดันของยาน Limiting Factor ด้วยไทเทเนียมเกรด 5 นั้นต้องอาศัยกรรมวิธีการผลิตระดับสูงและปราศจากการเชื่อมในทุกขั้นตอน โดยชิ้นส่วนตัวยานยังถูกนำมาผลิตเป็นพาร์ทต่างๆของนาฬิกาอีกด้วย อาทิ ขอบตัวเรือน, ตัวเรือน, ฝาหลัง และเม็ดมะยม ซึ่งแต่ละชิ้นที่ตัดออกมาจะได้รับการประทับตรา DNV-GL เพื่อเป็นหลักประกันถึงที่มา, คุณสมบัติ และคุณภาพของวัสดุ
การออกแบบช่องมอง
ขั้นตอนการออกแบบช่องมองนั้นถือเป็นส่วนที่สำคัญยิ่งสำหรับการออกแบบยานใต้น้ำ
พื้นที่ในส่วนช่องมองของยาน Limiting Factor จึงถูกออกแบบเพื่อลดแรงดันน้ำที่จะมากระทำกับขอบด้านในของกรวย ซึ่งเป็นจุดที่ได้รับแรงเครียดมากที่สุด เช่นเดียวกับการติดตั้งกระจกนาฬิกาเข้ากับตัวเรือน โอเมก้าเลือกที่จะกระจายแรงเครียดโดยใช้การออกแบบทรงกรวย ลักษณะเดียวกันกับที่ใช้ในการติดตั้งช่องมองบนยานใต้น้ำ และใช้ Liquidmetal® ที่มีคุณสมบัติยืดหยุ่นแต่มั่นคงเพื่อยึดกระจกนาฬิกาให้เข้ากับตัวเรือน นวัตกรรมการเชื่อมยึดด้วยความร้อนที่กำลังอยู่ในขั้นตอนการจดสิทธิบัตรนี้ยังช่วยให้สามารถหลีกเลี่ยงการใช้โพลีเมอร์ในจุดต่างๆ และยังช่วยลดความหนาของกระจกแซฟไฟร์ได้
ฝาหลังและเม็ดมะยม
ขานาฬิกาแบบ Manta
ขานาฬิกาของซีมาสเตอร์ แพลเน็ต โอเชียน อัลตร้า ดีพ โปรเฟสชั่นแนล (Seamaster Planet Ocean Ultra Deep Professional) ถูกออกแบบให้กลมกลืนไปกับตัวเรือนไทเทเนียมและมีปลายเปิดด้านล่างเพื่อลดความเสี่ยงด้านขีดจำกัดทางวัสดุยามต้องเผชิญกับแรงดันที่มากระทำเมื่ออยู่ในมหาสมุทร โดยปลายเปิดดังกล่าวมีรูปลักษณ์คล้ายกับเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของปลากระเบนราหู จึงเป็นที่มาของชื่อขานาฬิกาแบบ “Manta” นั่นเอง
อีกด้านหนึ่งของ Ultra Deep
ตราสัญลักษณ์ของการสำรวจถูกติดตั้งอยู่ภายในวงกลมบริเวณกึ่งกลางฝาหลังดูคล้ายกับเทคโนโลยีโซนาร์ชนิดหลายลำคลื่น (Multi Beam sonar) ในส่วนของรุ่นเรือนเวลา, หมายเลขอ้างอิง, วัสดุ, การรับรอง DNV-GL และข้อความ – tested 15,000m 49212ft – ล้วนได้รับการสลักด้วยเลเซอร์
ปิดผนึก
มีเรือนเวลาโอเมก้า ซีมาสเตอร์ แพลเน็ต โอเชียน อัลตร้า ดีพ ทั้งหมด 3 เรือนที่ได้ลงไปเยือนก้นร่องสมุทร โดยสองเรือนถูกติดตั้งที่แขนกลของยานและอีกหนึ่งเรือนติดตั้งเข้ากับระบบ Lander และจากประสบการณ์ในการสำรวจอวกาศของแบรนด์ โอเมก้าจึงคัดสรรวัสดุที่ใช้ผลิตสายนาฬิกาอย่าง พอลิเอไมด์ และ Velcro ซึ่งมีความใกล้เคียงกับสายนาฬิกาแบบเดียวกับที่ใช้ในภารกิจ Apollo มาใช้ในภารกิจครั้งนี้
การทดสอบที่โหดยิ่งกว่า
นาฬิกาทุกเรือนจะถูกนำไปทดสอบแรงดันน้ำที่โรงงานของ Triton ในบาร์เซโลนาและอยู่ในการควบคุมจากกรรมการของ DNV-GL การทดสอบจะทำโดยใช้ตั้งค่าแรงดันสูงสุดไว้ให้มีขนาดเทียบเท่ากับแรงดันน้ำที่ร่องลึกก้นสมุทรมาเรียนา และเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการผลิตนาฬิกาดำน้ำกับความต้องการของโอเมก้าที่ต้องการเสริมความมั่นใจให้มากยิ่งขึ้น แบรนด์จึงได้เพิ่มระดับการทดสอบแรงดันให้สูงยิ่งขึ้นกว่าที่กำหนดไว้ในตอนแรกอีก 25% ซึ่งหมายความว่าเรือนเวลาจะต้องทำงานได้อย่างไร้ที่ติจนถึงที่ระดับความลึก 1500 บาร์ หรือ 15,000 เมตร
หลังจากผ่านการทดสอบที่ Triton และจุดที่ลึกที่สุดในโลกแล้ว เรือนเวลาโอเมก้า ซีมาสเตอร์ อัลตร้า ดีพ จึงถูกนำไปทดสอบตามมาตรฐานความเที่ยงตรงขั้นสูงสุดของอุตสาหกรรมเวลาด้วยบททดสอบสุดขั้ว 8 ด้านเป็นระยะเวลา 10 วันตามกำหนดของ Swiss Federal Institute of Metrology (METAS) เรียกได้ว่านอกจากผ่านการทดสอบใต้น้ำในสภาวะสุดขั้วแล้ว เรือนเวลาทุกเรือนยังผ่านการทดสอบมาตรฐาน Master Chronometer ด้วยเช่นกัน
สัมผัสนวัตกรรมชั้นเลิศและประสบการณ์เหนือระดับไปกับ OMEGA ได้ที่บูติคสาขาเซ็นทรัล
เอ็มบาสซี โทร. 02-160-5959, สาขาสยามพารากอน โทร.02-129-4878 และ สาขาดิ เอ็มโพเรียม โทร.02-664-9550
21 เม.ย 2564